Page 94 - kpiebook62016
P. 94
77
ต าแหน่งเป็นผู้พิพากษามาก่อน แต่ต้องผ่านการสัมภาษณ์จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อประเมิน
217
ความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่
3. กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก
องค์กรที่ท าหน้าที่กลไกคัดค้านเสียงข้างมากตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี
อ านาจวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติและการพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับผลการ
เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2004 ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อ านาจในการพิจารณาผลการเลือกตั้งที่
218
ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งถึง 4 เขต และใน ค.ศ. 2010 ศาลรัฐธรรมนูญ
มีมติให้ผู้ที่ได้รับคะแนนล าดับที่สองเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ท าให้เกิดความไม่พอใจ ขณะเดียวกันศาล
219
รัฐธรรมนูญมีความตื่นตัวในการทบทวนรัฐบัญญัติ เช่น ใน ค.ศ. 2003 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าการ
ด าเนินคดีต่อผู้ต้องสงสัยในคดีการก่อการร้ายบนเกาะบาหลี (Bali) โดยให้กฎหมายที่ออกหลังจาก
220
เหตุการณ์ไปแล้วมีผลย้อนหลัง เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ใน ค.ศ. 2011 ศาลรัฐธรรมนูญประกาศให้
กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมาธิการค้นหาความจริงและการปรองดอง (Law on the Truth and
Reconciliation Commission) และกฎหมายว่าด้วยพลังงานไฟฟ้า (Law on Electrical Power) ไม่ชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญและให้กฎหมายดังกล่าวเป็นโมฆะ จนเกิดการกล่าวหาว่าศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษา
เกินค าร้อง (ultra petita) น ามาสู่การออกรัฐบัญญัติจ ากัดอ านาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาล
รัฐธรรมนูญก็ได้ประกาศให้รัฐบัญญัติดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญมี
อ านาจพิพากษาเกินค าร้องเพื่อประกาศให้กฎหมายทั้งฉบับไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ หากศาลพบว่า
221
มาตราที่เป็นใจความส าคัญของกฎหมายนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
217 Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., p. 195.
218 Aris Anata, Evi Nurvidya Arifin and Leo Suryadinata, op. cit., p. 32.
219 Nadirsyah Hosen, op. cit., p. 330.
220 Simon Butt, ‚The Constitutional Court’s Decision in the Dispute between the Supreme Court and the Judicial
Commission,‛ in Ross H. McLeod and Andrew MacIntyre (eds.), Indonesia: Democracy and the Promise of Good
Governance (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2007), p. 183.
221 Nadirsyah Hosen, op. cit., p. 330.