Page 95 - kpiebook62016
P. 95
78
4. กติกาเกี่ยวกับพรรคการเมือง
ภายใต้ระบอบอ านาจนิยมของรัฐบาลประธานาธิบดีซูการ์โน พรรคการเมืองมีบทบาทจ ากัด
หลังจากที่พลเอกซูฮาร์โตได้ด ารงต าแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ จึงมีการจัดการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้น ซึ่งพรรคโกลการ์ของรัฐบาลมีความได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองอื่นมาก
222
จากการสนับสนุนของอ านาจรัฐทุกวิถีทาง ใน ค.ศ. 1973 มีการออกค าสั่งยุบรวมพรรคการเมือง 9
223
พรรค ให้รวมเป็น 3 พรรค และประกาศห้ามมิให้จัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ตลอดสมัยประธานาธิบดี
ซูฮาร์โต จนกระทั่งถูกยกเลิกโดยค าสั่งของประธานาธิบดีฮาบิบี
หลังจากได้รับเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง กระแสความตื่นตัวทางการเมืองหลังการลง
จากอ านาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต น ามาสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเป็นจ านวนมาก โดยในการ
224
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ ค.ศ. 1999 มีพรรคการเมืองเข้าร่วมถึง 48 พรรค ทั้งนี้ การเปิด
เสรีในการจัดตั้งพรรคการเมืองส่งผลให้เกิดความกังวลว่าจะมีกลุ่มการเมืองที่อาศัยพรรคการเมืองเป็น
พื้นที่ในการเผยแพร่ความแตกแยกทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม และการแบ่งแยกดินแดน
จึงก าหนดให้พรรคการเมืองต้องมีสาขาพรรคไม่น้อยกว่า 20 จังหวัด จากทั้งหมด 34 จังหวัด และในแต่ละ
จังหวัด พรรคจะต้องมีสาขาในเขตไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจ านวนเขตในจังหวัด และในแต่ละเขตพรรค
จะต้องมีสาขาในแขวงไม่น้อยว่า 1 ใน 4 ของจ านวนแขวงในเขต เพื่อเป็นการบังคับให้พรรคการเมือง
225
226
ของอินโดนีเซียมีสมาชิกหลากหลาย และพรรคต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 1,000 คน
222 Paul J. Carnegie, The Road from Authoritarianism to Democratization in Indonesia (New York: Palgrave Macmillan,
2010), pp. 59 – 60.
223 M. Djadijono, ‚Economic Growth and the Performance of Political Parties,‛ in Richard W. Baker, M. Hadi Soesastro, J
Kristiadi and Douglas E. Ramage (eds.), Indonesia: The Challenge of Change (Singapore: Institute of Southeast Asian
Studies, 1999), p. 115.
224 Aris Anata, Evi Nurvidya Arifin, and Leo Suryadinata, op. cit., p. 4.
225
Olli Hellmann, op. cit., p. 132.
226 Vikram Nehru, Nadia Bulkin, op. cit.