Page 255 - kpiebook65010
P. 255

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากกฎหมายนั้น แม้หน่วยงาน
               จะมีทางเลือกที่ประสงค์จะดำเนินการที่ชัดเจนเพียงใดก็ตาม แต่การนำเสนอทางเลือกนั้นก็ควร

               ที่จะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ และควรต้องแสดงหลักฐานนั้นให้
               ครบถ้วนโดยไม่เร่งรีบที่จะนำเสนอแต่เพียงข้อดีของมาตรการดังกล่าวเท่านั้น


                            นอกจากนี้ เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายนั้น
               ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสาระสำคัญของแต่ละเรื่อง ผู้มีหน้าที่ในการจัดทำรายงานควรได้
               ตระหนักถึงความมีอยู่ของเครื่องมือเหล่านั้น และเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ

               ข้อเท็จจริงด้วย ทั้งนี้ ควรจัดให้มีที่ปรึกษาที่มีความรู้เฉพาะทางในแต่ละด้านเพื่อให้การจัดทำ
               รายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางกฎหมายนั้นมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุดต่อไป

               5.2.3   กรณีศึกษาร่างพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....


                      กรณีศึกษานี้จะนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการตรากฎหมายโดยนำ
               ร่างพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ร่างฯ ในหนังสือลงวันที่ 20 ธันวาคม 2561) 365

               พร้อมกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมานำเสนอว่าการวิเคราะห์
               ร่างดังกล่าวทำได้เหมาะสมเมื่อพิจารณาจากแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ร่างที่พัฒนาจากข้อเสนอ

               ในหัวข้อก่อน โดยร่างฉบับนี้ไม่ได้วิเคราะห์ผลกระทบตามแนวทางใน RIA Guidelines และ RIA
               Handbook เนื่องจากการวิเคราะห์ผลกระทบที่ปรากฏในร่างฯ ในหนังสือลงวันที่ 20 ธันวาคม
               2561 ได้จัดทำขึ้นก่อนที่จะมีเอกสารทั้งสองฉบับ โดยรายละเอียดที่จะนำมานำเสนอในกรณีศึกษานี้

               จะปรับปรุงจากการวิเคราะห์ผลกระทบ (หน้า 85-87) และหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็น
               ในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist) (ปรากฏในเอกสารระบุหน้า 29-45) ซึ่งในปัจจุบันร่างตาม

               เอกสารดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติและตราขึ้นใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว 366

                      5.2.3.1   ความเป็นมา


                            เมื่อปี 2561 กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ควบคุม
               และกำกับการประกอบกิจการโรงงานได้เสนอร่างกฎหมายฉบับหนึ่งเพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์การควบคุม
               ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดย


                    365   สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, “ร่างพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....” (ร่างฯในหนังสือ ที่ นร
               0503/41627 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2561) เข้าถึงได้จาก <www.senate.go.th/document/mSubject/Ext84/
               84266_0001.PDF> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.

                    366   ร่างที่ผ่านการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     243
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260