Page 257 - kpiebook65010
P. 257

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               คนงานกระทำได้โดยไม่ต้องแก้ไขพระราชบัญญัตินั้นจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขกฎหมาย
               ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว


                            1.1.3 บทบัญญัติในมาตรา 7(2) และมาตรา 11 พระราชบัญญัติโรงงาน
               พ.ศ. 2535 ระบุบุคคลผู้ออกใบรับแจ้งไม่สอดคล้องกัน จึงสมควรที่จะแก้ไขให้ตรงกัน โดยกำหนด

               ให้ผู้รับแจ้งคือ พนักงานเจ้าหน้าที่

                            1.1.4 การประกอบกิจการโรงงานบางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
               แก่บุคคลหรือทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการที่ประมาทเลินเล่อหรือ

               การเกิดอุบัติภัยในระหว่างประกอบกิจการโรงงาน เช่น อัคคีภัย การระเบิด ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้ไม่อาจ
               เรียกร้องค่าเสียหายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าได้ทันที  นอกจากจะไปฟ้องคดีแพ่งหรือ

               ขอให้ชดใช้ในทางแพ่งเกี่ยวเนื่องในคดีอาญา ซึ่งกรณีนี้จะต้องใช้ระยะเวลานานไม่สอดคล้องกับ
               คดีอาญาตามความผิดในมาตรา 8 ซึ่งมีอายุความเพียง 1 ปี เนื่องจากมีโทษปรับเพียงอย่างเดียว
               การกำหนดให้โรงงานมีการประกันภัยหรือหลักประกันหรือกองทุนของโรงงาน จึงเป็นเครื่องมือ

               ทางการเงินชนิดหนึ่งที่จะเป็นหลักประกันทำให้สามารถบรรเทาความเสียหายเฉพาะหน้าได้ทัน
               ท่วงที ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่เห็นด้วยกับหลักการนี้  จึงตัดหลักการนี้ออกแต่กระทรวง

               อุตสาหกรรมเห็นว่าน่าจะยังคงหลักการเฉพาะในเรื่องประกันภัยไว้

                            1.1.5  การกำหนดให้มีผู้ตรวจสอบเอกชนจะทำให้การตรวจสอบโรงงานและ

               เครื่องจักรกระทำได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้การอนุมัติ อนุญาตรวดเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้
               การให้การรับรองของผู้ตรวจสอบเอกชนแก่ผู้ประกอบ กิจการโรงงานที่จะต้องปฏิบัติตาม
               พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในเรื่องต่าง ๆ นั้น จะทำให้แน่ใจได้ว่าผู้ประกอบ กิจการ

               โรงงานจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับดูแลอยู่เสมอ ฉะนั้น
               พอเข้าใจได้ว่า หากผู้ประกอบกิจการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายผู้ตรวจสอบเอกชนจะไม่ให้การรับรอง

               ใดๆ และการที่ผู้ประกอบกิจการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอาจจะต้องได้รับโทษทางอาญา
               และมาตรการในทางปกครองอีกด้วย ในส่วนของผู้ตรวจสอบเอกชนนั้นทางราชการจะควบคุม
               โดยกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองและมีการลงโทษตั้งแต่ออกหนังสือเตือน

               การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตรวมทั้งดำเนินคดีอาญา เช่น การรายงานเท็จ
               เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วให้เพิ่มเติมรายละเอียดคุณสมบัติและ

               ลักษณะต้องห้ามของ ผู้ตรวจสอบเอกชน





                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     245
   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262