Page 256 - kpiebook65010
P. 256

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               มุ่งที่จะแก้ไขบทบัญญัติที่ควบคุมการประกอบกิจการโรงงานหลายด้านที่มีความเข้มงวดและอาจไม่
               เหมาะสมกับนโยบายการส่งเสริมการประกอบกิจการโรงงานที่ลดภาระแก่ผู้ประกอบการ โดย

               ปรากฏเหตุผลตอนหนึ่งปรารภเหตุความไม่เหมาะสมของบทบัญญัติบางมาตราของพระราชบัญญัติ
               โรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน โดยหลักการก่อนเสนอแก้ไขมีลักษณะเข้มงวด

               และล่าช้าซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการโรงงาน จึงควรเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์
               การควบคุมการประกอบกิจการโรงงานใหม่ให้เป็นไปเพียงเท่าที่จำเป็น เกิดความรวดเร็ว ประหยัด
               และลดภาระแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานโดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการโรงงานขนาดเล็ก

               โดยการปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณาของผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
               กฎหมาย ให้มีความชัดเจน ลดการใช้ดุลยพินิจ  รวมทั้งยกเลิกการกำหนดให้มีการต่ออายุ

               ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม และบทกำหนดโทษ เพื่อให้เหมาะสม
               ยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โดยการเสนอร่างพระราชบัญญัติโรงงาน
                                                                            367
               (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ได้นำเสนอข้อจำกัดในการใช้กฎหมายรายข้อดังต่อไปนี้

                            “1.1.1 โรงงานของหน่วยงานของรัฐหรือโรงงานที่มีวัตถุประสงค์บางประการ
               ที่มิใช่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมเกินความจำเป็นแต่อย่างใด เช่น

               กิจการที่มีไว้เพื่อการวิจัยฝึกอบรมกิจการที่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวขนาดเล็ก กิจการที่จำเป็น
               สำหรับกิจการหรือโรงงานอื่น จึงต้องมีการกำหนดให้โรงงานเหล่านี้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตาม
               พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535


                            1.1.2 ในการพิจารณาว่ากิจการใดๆ จะเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติ
               โรงงาน พ.ศ. 2535 นั้น องค์ประกอบ ที่สำคัญประการหนึ่งคือ เครื่องจักรและคนงานซึ่งเดิม

               กำหนดไว้ให้ (โรงงานที่อยู่ในนิยามของกฎหมายโรงงาน) มีขนาดตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือคนงาน
               ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป จึงจะเป็นโรงงาน ทำให้โรงงานขนาดเล็กที่ประกอบกิจการโดยไม่มีผลกระทบ
               ใดๆ มากนัก ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งบางครั้งโรงงานเหล่านี้อาจมี

               อุปสรรคในเรื่องพื้นที่ที่ตั้งโรงงานที่อาจขัดต่อกฎหมาย กรณีนี้จึงเป็นภาระอย่างยิ่งสำหรับกิจการ
               ขนาดเล็กซึ่งเป็นอุตสาหกรรมบริการให้กับชุมชนและเป็นกิจการส่วนใหญ่ที่มีความจำเป็นจะต้องมี

               อยู่เพื่อให้บริการต่อชุมชน การกำหนดขอบเขตของขนาดโรงงานให้มีกำลังแรงม้าเครื่องจักรและ
               คนงานเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นการขจัดอุปสรรคการประกอบกิจการของโรงงานขนาดเล็กอันเป็น
               การสนับสนุนให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กประกอบกิจการอยู่ได้ นอกจากนี้การกำหนดให้การปรับแก้

               ขนาดของโรงงานภายใต้พระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนของกำลังแรงม้าของเครื่องจักรหรือจำนวน


                    367   หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist) ข้อ 1.1

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     244
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261