Page 259 - kpiebook65010
P. 259

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               เดิมจึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ นอกจากนี้การขยายโรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในการขยาย
               กำลังการผลิตก็ไม่สมควรที่จะต้องมาขออนุญาตขยายโรงงานแต่อย่างใด เพียงแต่ให้แจ้งข้อเท็จจริง

               ให้ทราบก็เพียงพอแล้ว ซึ่งกรณีนี้รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องจักรที่ไม่เข้าข่ายขยาย
               โรงงานด้วย


                            1.1.9 การปรับปรุงระยะเวลาการรับโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
               อันเนื่องมาจากการโอนการประกอบกิจการโรงงาน การซื้อขายโรงงาน การเช่าโรงงาน หรือการเช่าซื้อ
               โรงงานให้ยาวขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 7 วัน นั้น ถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับ

               ผู้ประกอบกิจการโรงงานให้มากขึ้น เนื่องจากการรับโอนใบอนุญาตฯ ไม่ทันเวลาจะทำให้ต้องขอรับ
               ใบอนุญาตฯใหม่ทั้งหมด ซึ่งทำให้การประกอบกิจการโรงงานเกิดอุปสรรคไม่เกิดความต่อเนื่อง

               นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ไม่อาจตั้งโรงงานได้ หรือตั้งโรงงานแล้วแต่ไม่อาจเริ่ม
               ประกอบกิจการโรงงานได้ ซึ่งกรณีนี้เดิมกฎหมายกำหนดในทำนองที่ไม่อาจรับโอนใบอนุญาต
               ประกอบกิจการโรงงานได้ จึงทำให้ไม่มีการลงทุนใดๆ เกิดขึ้นจากการที่ได้รับใบอนุญาตนั้น ดังนั้น

               จึงได้กำหนดให้มีการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ใช้กับผู้รับโอน
               ทุกทอดด้วย


                            1.1.10 การเลิกประกอบกิจการโรงงานแม้เป็นสิทธิที่กระทำได้ของผู้ประกอบ
               กิจการโรงงานก็ตาม แต่การเลิกประกอบกิจการของโรงงานบางประเภทอาจก่อให้เกิดปัญหา
               ภายหลังและยากที่จะมีผู้รับผิดชอบแก้ไขฟื้นฟู กรณีนี้จึงควรที่จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่เลิก

               ประกอบกิจการโรงงานจะต้องบำบัดฟื้นฟูพื้นที่ที่ตั้งโรงงานดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยหากไม่มี
               การดำเนินการให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าดำเนินการแทนโดยให้ผู้ที่เลิกประกอบกิจการโรงงานเป็นผู้เสีย

               ค่าใช้จ่ายได้

                            1.1.11  เมื่อมีการแก้ไขมาตรา 15 โดยกำหนดให้การต่ออายุใบอนุญาตไม่ต้อง

               มีการตรวจโรงงาน กรณีนี้จึงไม่มีการสั่งการแก้ไขอันเนื่องมาจากการตรวจสอบในเรื่องการต่ออายุ
               ใบอนุญาตอีกต่อไป เมื่อมาตรา 33 วรรคสามบัญญัติให้นำมาตรา 15 วรรคสองมาใช้ กรณีดังกล่าว
               จึงต้องแก้ไขมาตรา 33 วรรคสาม โดยนำข้อความเดิมตามมาตรา 15 วรรคสอง มาปรับปรุงและ

               บัญญัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์เดิม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่เห็นด้วยกับหลักการต่ออายุ
               ใบอนุญาตไม่ต้องมีการตรวจโรงงาน เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วไม่สมควร

               กำหนดอายุของใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจึงตัดหลักการนี้ออก และปรับแก้ไขข้อความ
               ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการ
               กฤษฎีกา


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     247
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264