Page 258 - kpiebook65010
P. 258
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1.1.6 การย้ายโรงงานไปตั้งในที่แห่งใหม่นั้น จะต้องใช้เวลาสร้างโรงงาน
ระยะหนึ่ง การกำหนดให้ใบอนุญาตสิ้นอายุในวันที่ออกใบอนุญาตใหม่ จึงไม่สอดคล้องกับสภาพ
ข้อเท็จจริงก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องดำเนินการอย่าง
ต่อเนื่อง จึงควรที่จะต้องกำหนดให้ใบอนุญาตสิ้นอายุในวันที่โรงงานแห่งใหม่ได้เริ่มประกอบกิจการ
โรงงานแล้ว ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่เห็นด้วยกับหลักการนี้ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตรวจพิจารณาแล้วไม่สมควรกำหนดอายุของใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จึงตัดหลักการนี้
ออก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรณีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไม่มีอายุและไม่มีการต่ออายุใบอนุญาต
1.1.7 การต่ออายุใบอนุญาตเดิมกำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบก่อนจึงจะ
ต่ออายุใบอนุญาตได้ ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่สามารถตรวจกำกับดูแลได้ทุกเวลา ดังนั้น
การกำหนดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตโดยไม่จำเป็นต้องมีการตรวจโรงงานจึงสามารถกระทำได้
ซึ่งกรณีจะทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน นอกจากนี้การกำหนดให้สามารถ
ต่ออายุใบอนุญาตได้ในกรณีที่ต่ออายุไม่ทันกำหนดเวลาที่ใบอนุญาตสิ้นอายุได้นั้น รวมทั้ง
การกำหนดให้สามารถใช้ทำเลที่ตั้งเดิมมาขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานใหม่กรณีที่ขาดต่ออายุ
ใบอนุญาตด้วย จะเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมคงอยู่ต่อไป ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไม่เห็นด้วยกับหลักการนี้ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วไม่สมควรกำหนด
อายุของใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจึงตัดหลักการนี้ออก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเห็นด้วย
กับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.1.8 การขยายโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เดิมกำหนดให้
สำหรับโรงงานที่มีเครื่องจักรเดิมไม่เกิน 100 แรงม้า และเกิน 100 แรงม้า สำหรับกรณีเกิน
100 แรงม้านั้น กำหนดให้มีการเพิ่มเครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไปถือว่าเข้าข่ายขยายโรงงาน
กรณีนี้จึงทำให้การเพิ่มเติมเครื่องจักรของโรงงานขนาดใหญ่ที่เป็นเครื่องจักรที่มิใช่เครื่องจักร
ในกระบวนการผลิตหลักแต่เป็นเครื่องจักรที่เป็นการสนับสนุนการผลิตจะต้องมาดำเนินการตาม
กฎหมายอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความไม่สะดวก จึงสมควรที่การกำหนดวิธีการคำนวณแรงม้าใน
การขยายโรงงานใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสะดวกรวดเร็วไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบกิจการ
เกินความจำเป็น นอกจากนี้ การประกอบกิจการโรงงานบางครั้งต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และ
สอดคล้องกับขบวนการผลิตเดิมและพื้นที่ที่ตั้งโรงงานตามสภาพความจริง การกำหนดให้มี
การขยายโรงงานในที่ดินแปลงใหม่ที่ติดกับที่ดินที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมหรือที่ดินที่ได้รับอนุญาต
ให้ขยายไว้เดิมและการกำหนดให้สามารถเพิ่มประเภทการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
สถาบันพระปกเกล้า
246