Page 274 - kpiebook65010
P. 274
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
การตัดสินใจว่าจะมีการดำเนินนโยบายนั้นหรือไม่ โดยมีการระบุสิ่งที่อาจจะได้รับและสิ่งที่อาจจะ
379
ต้องจ่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องนั้น ๆ
ลักษณะสำคัญของ RIA อาจจัดแบ่งได้อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก RIA ใช้กับ
การวิเคราะห์ข้อเสนอในเชิงนโยบาย (policy proposal) ซึ่งรวมถึงกฎหมายด้วย ประการที่สอง
RIA มีลักษณะเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และประการที่สาม มุ่งที่จะ
ทำให้มีข้อมูลหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ โดย RIA มักเรียกร้องให้มีการดำเนินการ
380
โดยขั้นตอนในทางบริหารโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (formal
administrative procedure) และทำการสรุปผลออกมาอย่างชัดเจนในลักษณะของรายงานหรือ
381
เอกสารที่เปิดเผยชัดเจน
ส่วนความหมายของการประเมินผลกระทบทางสังคมนั้น หากพิจารณาความหมายของ
คำดังกล่าวจากงานเขียนของ Burdge และ Vanclay (1996) จะพบคำอธิบายว่า หมายถึง
กระบวนการประเมิน (assessing) หรือคาดการณ์ (estimating) ล่วงหน้าเพื่อให้ทราบผลกระทบ
ทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการทางนโยบาย (ซึ่งรวมถึงกฎหมายด้วย) หรือกิจกรรม
382
การพัฒนา โดยผลกระทบใดจัดเป็นผลกระทบทางสังคมนั้น อาจพิจารณาได้จากความหมายของ
ผลกระทบทางสังคมที่ Burdge และ Vanclay นำเสนอและได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อน
นอกจากนี้ ในปี 2546 Vanclay ได้อธิบายขยายความคำว่าการประเมินผลกระทบทาง
สังคม โดยอธิบายว่าหมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ (analyze) ติดตามตรวจสอบ (monitor) และ
จัดการ (manage) บรรดาผลกระทบทั้งที่ตั้งใจให้เกิดและไม่ตั้งใจให้เกิด ทั้งในด้านดีและด้านร้าย
ที่จะเกิดจากมาตรการแทรกแซง (interventions) อันได้แก่ นโยบาย แผนงาน แผนการและ
โครงการ รวมทั้งวิเคราะห์ ติดตามตรวจสอบและจัดการบรรดาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะเกิด
ขึ้นจากการใช้มาตรการแทรกแซงรูปแบบเหล่านั้นเพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสังคม
มนุษย์อย่างยั่งยืนและเท่าเทียม 383
379 ibid.
380 TEP and CEPS (n 4) 11.
381 Hertin and others (n 12).
382 Burdge and Vanclay (n 2).
383 Frank Vanclay, ‘International Principles for Social Impact Assessment’ (2003) 21 (1) Impact
Assessment and Project Appraisal 5.
สถาบันพระปกเกล้า
262