Page 275 - kpiebook65010
P. 275

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย




               1.3  ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการทำ

                    RIA

                    มีข้อสังเกตก่อนที่จะกล่าวถึงคู่มือในหัวข้อถัดไปว่า หากพิจารณาเอกสารที่วางแนวทางและ

               วิธีการทำ RIA ของ EU ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเอกสารที่มีการเผยแพร่ก่อนปี 2010
               มักมีการจำแนกประเภท แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมออกจากการวิเคราะห์
               ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยการจำแนกที่เพิ่งกล่าวไปนั้นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อน

               ให้เห็นว่าในช่วงทศวรรษก่อนยังมีแนวคิดการแยกการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมออกอย่างเป็น
               เอกเทศ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเอกสารของ EU (รวมทั้งของ OECD) ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อที่

               3 ต่อไปจะพบว่าเอกสารที่มีการจัดทำหลังปี 2010 เป็นต้นมาไม่ได้มีการแยกแนวทางวิธีการ
               วิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคมอย่างเป็นเอกเทศอีกต่อไป ซึ่งอาจสะท้อนแนวคิดใหม่ว่าปัจจุบัน
               ไม่มีความจำเป็นต้องแยกการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจออกจากกัน เพราะ

                                                                        384
               ในทางที่สุดผลกระทบทั้งสองด้านมักมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นแฟ้น  นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติ
               ของการวิเคราะห์ผลกระทบในการทำ RIA นั้น จะเป็นการวิเคราะห์ข้อเสนอทางกฎหมายรายฉบับ

               ซึ่งโดยสภาพย่อมไม่อาจจะทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมแต่เพียงด้านเดียวได้ โดยต้องคำนึง
               ถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลกระทบหรือคำนึงถึงข้อพิจารณาด้านอื่น ๆ ไป
               ในขณะเดียวกันด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ได้มีการจัดทำแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบแบบ

               แยกส่วนอีก อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรอบการนำเสนอในคู่มือนี้มุ่งพิจารณาแนวทางและวิธีการ
               วิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเป็นหลัก ดังนั้น การนำเสนอในประเด็นที่เกี่ยวข้องจะพยายาม

               นำเสนอแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เน้นกล่าวถึงในมิติด้านสังคมให้มากที่สุดควบคู่
               ไปกับการนำเสนอบทเรียนและแนวทางดำเนินการตามหลักสากลที่เป็นปัจจุบันให้มากที่สุด











                    384   เช่นเดียวกับที่จะเห็นแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบของประเทศต่าง ๆ ในหัวข้อต่อไปซึ่งมีลักษณะ
               เช่นเดียวกัน คือในปัจจุบันแทบจะไม่มีการแยกตัวอย่างแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมออกจากด้าน
               เศรษฐกิจอีกต่อไป เหตุผลหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากฐานคิดของการทำ RIA ที่พยายามจะให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบออกมา
               เป็นตัวเลขให้มากที่สุดทำให้ในท้ายที่สุดมีความจำเป็นต้องนำหลักการวิเคราะห์ที่นิยมใช้ในทางเศรษฐกิจ เช่น
               การวิเคราะห์แบบ cost-benefit analysis และ cost-effectiveness analysis เป็นต้น มาใช้ในการวิเคราะห์ด้านสังคม
               ให้มากเท่าที่จะทำได้ ส่งผลให้ในแง่วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งสองด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและ

               ไม่มีความจำเป็นต้องแยกแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบแต่ละประเภทอย่างเป็นเอกเทศ

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     263
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280