Page 40 - kpiebook65010
P. 40

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                                                                         17
               บทบัญญัติแห่งกฎหมายต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ  และรัฐธรรมนูญฯ 2560
               ได้วางหลักประกันความโปร่งใสของกฎหมายที่จะมีการตราขึ้นโดยขยายแนวคิดออกไปให้มีการทำ

               RIA เพื่อไม่ให้รัฐใช้อำนาจของตรากฎหมายให้ประชาชนต้องเสียสิทธิและเสรีภาพเกินสมควร 18

                      หลักการดังกล่าวนั้นเพิ่งเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฯ 2560 นี้เอง ซึ่งในด้านหนึ่งการมี

               บทบัญญัติในเรื่องนี้ถือเป็นหลักการที่ปรากฏในกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงสุดเป็นครั้งแรกที่ช่วย
               สร้างหลักประกันว่าแม้รัฐ (ฝ่ายนิติบัญญัติ) มีอำนาจตรากฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารใช้กฎหมายนั้น
               ปกครองประเทศแต่ในขณะเดียวกันรัฐก็พึงมีหน้าที่รับฟังเสียงจากประชาชนว่ากฎหมายที่รัฐ

               จะตราขึ้นใช้นั้นจะส่งผลกระทบในด้านใดหรือไม่ก่อนที่จะมีการตรากฎหมายฉบับใดออกมา
               ในอีกด้านหนึ่ง หลักการในรัฐธรรมนูญฯ 2560 ข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการวิเคราะห์ผลกระทบถือเป็น

               ขั้นตอนสำคัญของกระบวนการตรวจสอบความจำเป็นก่อนการตรากฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
               ที่จะนำเปิดเผยรวมทั้งนำมาประกอบการพิจารณาในขั้นตอนการตรากฎหมาย ซึ่งหลักการ
               ในลักษณะเช่นนี้ได้สร้างกลไกการเปิดเผยและให้ข้อมูลสู่ภาคสาธารณะและผู้ตัดสินใจ (decision-

               maker) ในลักษณะทำนองเดียวกับกลไกการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมหรือ
                                                              19
               โครงการ (environmental impact assessment: EIA)  ซึ่งมีการนำมาบัญญัติในกฎหมายไทย
               ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา 20

                      อย่างไรก็ดีมาตรา 77 วรรคสองมิได้กำหนดรายละเอียดแต่อย่างใดว่า “ผลกระทบที่อาจ
               เกิดขึ้นจากกฎหมาย” นั้น ได้แก่ผลกระทบในด้านใดบ้างและคำว่า “อย่างรอบด้านและเป็นระบบ”

               นั้น เป็นอย่างไร และจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรว่าการประเมินจะเป็นไปอย่างรอบด้าน
               และเป็นระบบ รวมทั้งยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินอย่างแน่ชัด ซึ่งการที่

               บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเนื้อความในรายละเอียดรวมทั้งวางกลไกการเนินการอย่างละเอียด


                     17   รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง.
                     18   สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ
               แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐” (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2562) 120.

                     19   ปัจจุบันหลักการเกี่ยวกับการทำ EIA ปรากฏทั้งในรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาตรา 57) และพระราชบัญญัติ
               ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หมวด 3 ส่วนที่ 4
                     20   รายละเอียดดูพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 มาตรา 6 ซึ่งให้
               อำนาจคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรียกให้หน่วยงานของรัฐส่งเอกสารสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดจาก
               แผนงานหรือโครงการให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา โดยในเวลาต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อกำหนด
               รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้นโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
               รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     28
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45