Page 41 - kpiebook65010
P. 41
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
นั้นอาจเนื่องจากสถานะของมาตรา 77 เป็นเพียงบทบัญญัติในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ที่เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน
21
เท่านั้น และรายละเอียดการดำเนินการเป็นเรื่องที่จะต้องมีการกำหนดรายละเอียดในกฎหมาย
ในลำดับต่อไปหากรัฐเห็นว่าประเด็นเรื่องดังกล่าวมีความจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดในกฎหมาย
2.1.2 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้ไม่นาน ได้มีการตราพระราชบัญญัติ
หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งถือ
เป็นการตรากฎหมายเพื่อรองรับหลักการในมาตรา 77 และมาตรา 258 ของรัฐธรรมนูญฯ 2560
นอกจากนี้ ในเวลาต่อมาได้มีการประกาศกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
22
จากกฎหมาย (RIA Guidelines) ซึ่งเป็นแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายกำหนด
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 7 และ 17 ซึ่งจะได้มีการนำเสนอหลักการและ
กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในกฎหมายพิเศษและแนวทางดำเนินการภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าว
ในหัวข้อต่อไปของบทนี้
หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ
ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ปรากฏในมาตรา 3
23
และมาตรา 5 วรรคสาม โดยมาตรา 3 ได้ให้นิยามคำว่า “การวิเคราะห์ผลกระทบ” ว่าหมายถึง
“การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” ในขณะที่มาตรา 5 วรรคสาม ได้วางหลักการ
ว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ หน่วยงานของรัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ
21 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 64
เหตุผลสำคัญที่คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เลือกกำหนดให้หลักการเรื่อง RIA เป็นบทบัญญัติในหมวด
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐก็เนื่องจากผู้ร่างเห็นว่าหลักการเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่และหากบัญญัติให้มาตรา 77 มีผลบังคับ
ในทันทีทันใด (โดยการกำหนดให้อยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ เน้นโดยที่ปรึกษา) อาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
เพราะไม่มีความพร้อม โดยผู้ร่างมุ่งหมายให้มีการตรากฎหมายแม่บทเรื่องนี้รองรับรวมทั้งให้เวลาเจ้าหน้าที่รัฐให้มี
ความพร้อมในการปรับทัศนคติต่อหลักการใหม่และมีเวลาที่สามารถปรับตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป รายละเอียดดู
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 2, 122.
22 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก หน้า 7 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
23 ในกรณีที่มีการอ้างถึงบทบัญญัติมาตราโดยที่มิได้กล่าวถึงชื่อกฎหมายประกอบด้วย ให้หมายถึงบทบัญญัติ
มาตราของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
สถาบันพระปกเกล้า
29