Page 43 - kpiebook65010
P. 43

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               เนื่องจากการทำ RIA ของไทยในอดีตยังขาดกฎหมายรองรับสถานะรวมทั้งยังขาดตัวอย่างคู่มือ
                                              26
               หรือแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบ  ในเวลาต่อมาจึงได้มีการกำหนด “แนวทางการวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” (RIA Guidelines)  ซึ่งเป็นแนวทางดำเนินการซึ่งเกิดจาก
                                                              27
               การขยายหลักการทำรายงาน RIA ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและ

               การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดย RIA Guidelines ได้กำหนดให้มี
               การวิเคราะห์กระทบหลังจากที่มีการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายแล้วพบว่า
               มีความจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวจะถูกนำมารวม

               ไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (รายงาน RIA)
               รายละเอียดดังจะได้กล่าวถึงในหัวข้อ 2.2 ต่อไป


                      นอกเหนือไปจากนั้น ในเวลาต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำแนวทาง
               การวิเคราะห์ผลกระทบขึ้นอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบ เรียกว่า
               “คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า

               RIA Handbook  ซึ่งคู่มือนี้เป็นแนวทางที่สำคัญที่หน่วยงานของรัฐใช้จัดทำ RIA ซึ่งจะได้มีการนำ
                            28
               เสนอประเด็นรายข้อ เนื้อหาที่ควรอธิบายในแต่ละประเด็นในส่วนที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์

               ผลกระทบทางสังคมอีกครั้งและจะเป็นเอกสารหลักที่จะใช้เป็นฐานในการเปรียบเทียบกับแนวทาง
               และวิธีการที่มีการวิเคราะห์ในระดับสากลในบทที่ 5 ต่อไป โดยมีข้อสังเกตว่า RIA Handbook
               ไม่ถือเป็นเอกสารที่มีสภาพบังคับทางกฎหมายหากแต่เพียงมุ่งนำเสนอแนวทางการทำ RIA เป็น

               สำคัญ







                     26   ดูรายละเอียดข้อจำกัดนี้รวมทั้งข้อจำกัดอื่น ๆ ก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติและกำหนดแนวทาง
               การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ในปี 2562 ได้จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, “โครงการ
               วิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis)” รายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ
               สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2557) 4-29 – 4-30.

                     27   รายงานการศึกษานี้ใช้คำว่า RIA Guidelines แทนชื่อ “แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
               กฎหมาย” เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเมื่อต้องกล่าวถึงแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ซึ่งมี
               การกำหนดขึ้นในปี 2562) “ในฐานะชื่อเอกสารที่มีการจัดทำเป็นแนวทาง” ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และ
               คำว่าแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบซึ่งเป็นกลุ่มคำที่มุ่งหมายถึงแนวทางที่ควรจะเป็นซึ่งใช้ในความหมายเชิงอรรถาธิบาย
               ทั้งในบทนี้และในบทอื่น ๆ ที่จะมีการกล่าวถึงต่อไป
                     28   สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” <www.
               krisdika.go.th/article77> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     31
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48