Page 45 - kpiebook65010
P. 45
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
Guidelines จึงได้กำหนดแนวทางเอาไว้ว่าก่อนที่จะมีการเสนอให้มีการตรากฎหมายควรมี
การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย โดยคำแนะนำดังกล่าววางหลักการให้มี
การวิเคราะห์สภาพปัญหาและเหตุผลที่รัฐควรเข้าไปแทรกแซงในเรื่องนั้น ในขณะเดียวกันก็กำหนด
ให้จะต้องมีการพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ทั้งทางเลือกที่เป็นมาตรการทางกฎหมายและ
ไม่เป็นมาตรการทางกฎหมาย โดยการวิเคราะห์ผลกระทบและการทำรายงาน RIA จะดำเนินไป
ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าหลังจากที่มีการพิจารณาความจำเป็นแล้ว หน่วยงานของรัฐเห็นว่ามีความจำเป็น
ต้องตรากฎหมาย 29
2.2.2 การเริ่มต้นกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ
ได้กล่าวไปแล้วว่าการวิเคราะห์ผลกระทบเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินการเมื่อผ่าน
กระบวนการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายและหน่วยงานของรัฐเห็นว่าการตรา
กฎหมายเป็นทางเลือกที่มีความจำเป็น โดยในกรณีดังกล่าว พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ
ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 วางหลักการเอาไว้ว่า เมื่อมีกรณี
จำเป็นต้องเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐแสดงเหตุผลความจำเป็นในการตรา
กฎหมายให้ชัดเจนโดยมีข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบชัดเจนว่าไม่เป็นการสร้างภาระแก่
ประชาชนเกินความจำเป็น คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน รวมทั้งไม่สามารถใช้
มาตรการหรือวิธีการอื่นใดนอกจากการตราเป็นกฎหมาย 30
สำหรับการเริ่มต้นกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบนั้น หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่นำเสนอ
ในเบื้องต้นว่าร่างกฎหมายที่จะเสนอให้มีการตราอาจส่งผลกระทบในด้านใดบาง โดยกำหนดให้
พิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศ สังคม หรือประชาชน ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อมหรือสุขภาวะ หรือผลกระทบอื่นโดยรวมที่สำคัญ ในขณะเดียวกันต้องพิจารณาด้วยว่า
รัฐมีความพร้อมและต้นทุนในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
31
โดยในส่วนของการวิเคราะห์ความพร้อมและต้นทุนของรัฐนั้น อาจได้แก่ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่า
ต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายในระยะสามปีแรก โดยให้แนบ
รายละเอียดการคำนวณต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาด้วย 32
29 RIA Guidelines, ข้อ 1.
30 มาตรา 12.
31 RIA Guidelines, ข้อ 3.
32 RIA Guidelines, ข้อ 4.
สถาบันพระปกเกล้า
33