Page 42 - kpiebook65010
P. 42
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้ง
เปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน และนำผลนั้นมาประกอบ
การพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน”
จะเห็นว่าถ้อยคำในมาตรา 5 วรรคสามนั้นเกือบทั้งหมดแทบจะคัดลอกมาจากหลักการ
ในมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ 2560 ทุกตัวอักษร เพียงแต่มีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่า
24
ให้ “หน่วยงานของรัฐ” เป็นผู้มีหน้าที่วิเคราะห์ผลกระทบ ซึ่งในแง่หนึ่งถือได้ว่าบทบัญญัติ
ดังกล่าวได้สร้างความชัดเจนว่าหลักการในมาตรา 5 วรรคสาม เกิดจากการนำหลักการใน
มาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาบัญญัติให้มีสภาพบังคับทางกฎหมายให้ชัดเจน
มากขึ้น อย่างไรก็ตามการนำคำว่า “พึงจัดให้มี” มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติมาตรา 5 ของ
กฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อกำหนดหน้าที่ให้กับหน่วยงานของรัฐดำเนินการอาจนำไปสู่
ปัญหาการตีความว่าการวิเคราะห์ผลกระทบถือเป็นเงื่อนไขที่ต้องทำ (mandatory provision)
กล่าวคือ กฎหมายไม่อนุญาตให้มีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่กระบวนการตรากฎหมายหากไม่ได้
ทำ RIA หรือเพียงแต่มีสถานะเป็นเงื่อนไขที่พึงดำเนินการ (optional provision) เท่านั้น
25
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้อยู่นอกขอบเขตการศึกษาจึงจะไม่ได้กล่าวในรายละเอียด
มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า แม้โดยหลักการแล้ว การทำ RIA จะใช้กับการวิเคราะห์ผลกระทบ
ของร่างกฎหมาย อย่างไรก็ดี ความในมาตรา 5 วรรคท้ายของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ
ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้บัญญัติให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม
มาตรา 5 (ซึ่งรวมถึงเรื่องการทำ RIA) บังคับแก่การจัดทำร่างกฎตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย
โดยอนุโลมด้วย จึงทำให้อาจมีการทำ RIA กับร่างของกฎหมายลำดับรองได้ หากมีการกำหนด
เรื่องดังกล่าวในกฎกระทรวง
นอกเหนือจากการปรากฏหลักการอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฯ 2560 และพระราชบัญญัติ
หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว
24 มาตรา 3 กำหนดคำจำกัดความของ “การวิเคราะห์ผลกระทบ” โดยให้หมายถึง “การวิเคราะห์ผลกระทบ
ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” และให้นิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ว่าหมายถึง “หน่วยงานที่เป็นของรัฐไม่ว่าจะเป็น
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือในรูปแบบอื่นใด และไม่ว่าจะเป็นองค์กรในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ”
25 การใช้คำว่า “พึงจัดให้มี” ในมาตรา 77 วรรคสอง รัฐธรรมนูญฯ 2560 นั้น ถือว่าเหมาะสมแล้ว เนื่องจาก
มาตราดังกล่าวอยู่ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่วางหลักการว่ารัฐควรดำเนินการในเรื่องใดบ้าง แต่การนำถ้อยคำ
ดังกล่าวมาบัญญัติในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่มุ่งหมายให้มีการดำเนินการที่ชัดเจนในเชิงหน้าที่ทางกฎหมาย
(legal obligation) อาจก่อให้เกิดปัญหาบางประการดังที่ได้ตั้งข้อสังเกตไว้
สถาบันพระปกเกล้า
30