Page 44 - kpiebook65010
P. 44
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
กล่าวโดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าปัจจุบันกฎหมายมีกฎหมายและระเบียบที่กำหนด
แนวทางดำเนินการรองรับให้การวิเคราะห์ผลกระทบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบ
ความจำเป็นในการตรากฎหมายรายละเอียดปรากฏตามแผนภาพสรุปด้านล่างนี้
การตรวจสอบความจำเป็นใน
RIA Handbook
การตรากฎหมาย
RIA Guidelines (2562)
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์
การจัดทำร่างกฎหมายฯ 2562 หมวด ผลกระทบ
รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 77 วรรคสอง
ภาพ 2 แสดงตำแหน่งแห่งที่ของหลักการและกฎเกณฑ์การวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายไทย
2.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบ
ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนว่าการวิเคราะห์ผลกระทบเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบ
ความจำเป็นในการตรากฎหมาย ดังนั้น การวิเคราะห์ผลกระทบซึ่งเป็นประเด็นหลักของการศึกษา
นี้จึงไม่อาจจะพิจารณาแยกส่วนจากขั้นตอนการทำ RIA ทั้งหมดได้เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะได้
กล่าวถึงต่อไปล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ในหัวข้อนี้จะนำเสนอว่าพระราชบัญญัติ
หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และ RIA
Guidelines ได้กำหนดขั้นตอนและกรอบการดำเนินการในการตรวจสอบความจำเป็นในการตรา
กฎหมายเอาไว้อย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากฎหมายกำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินการ
วิเคราะห์ผลกระทบไว้มากน้อยเพียงใดและแนวทางและขั้นตอนเหล่านั้นเชื่อมโยงกับขั้นตอน
ในภาพรวมของการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายอย่างไร โดยอาจแบ่งหลักเกณฑ์และ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
2.2.1 การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายเพื่อกำหนดทางเลือก
แม้ว่าการตรากฎหมายจะเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่อาจมีความเป็นไปได้เช่นกันว่ามีทางเลือกอื่นในการแก้ไขหรือจัดการกับปัญหา ดังนั้น RIA
สถาบันพระปกเกล้า
32