Page 22 - kpiebook65020
P. 22
viii
นอกจากนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยังได้ก าหนดหลักเกณฑ์ที่ส าคัญในการการตรวจสอบความจ าเป็นใน
การตรากฎหมาย การรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายไว้ ดังต่อไปนี้
1) การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย เมื่อมีกรณีจ าเป็นต้องเสนอให้มีการตรากฎหมาย
ให้หน่วยงานของรัฐที่เสนอร่างกฎหมายจะต้องแสดงเหตุผลความจ าเป็นในการตรากฎหมายและต้องวิเคราะห์
โดยมีข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบชัดเจนว่า 1) ไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น
2) คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและประชาชน และ 3) ไม่สามารถใช้มาตรการหรือวิธีการอื่นใดนอกจากการ
ตราเป็นกฎหมาย โดย “กฎหมาย” ที่จะต้องด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายนั้น
ประกอบด้วย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย รวมถึง “กฎ” ตาม
กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ที่มีผลให้เกิดภาระแก่ประชาชน หรือการไม่ปฏิบัติตามจะมีผล
ให้ต้องได้รับโทษหรือเสียสิทธิ หรือกระทบต่อสถานะของบุคคล
(2) การรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ก่อนการตรากฎหมายใดเพื่อบังคับใช้กับประชาชน
หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนั้น โดยให้หน่วยงาน
12
ของรัฐด าเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบกลางหรือวิธีการอื่น โดยจะต้องน าหลักการหรือประเด็น
13
ส าคัญของร่างกฎหมายไปรับฟังความคิดเห็น และเมื่อได้ด าเนินการรับฟังความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว ให้น า
ผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการจัดท าร่าง
14
กฎหมาย และจัดท าสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น
(3) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หน่วยงานของรัฐต้องกระท าอย่างรอบด้านและ
เป็นระบบ โดยให้น าผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบด้วย เมื่อ
ด าเนินการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายแล้ว ให้จัดท าเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่
อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตาม “แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย”ที่คณะกรรมการ
พัฒนากฎหมายก าหนดขึ้น โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยใช้ “แบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” ตามที่ก าหนดในแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ดังกล่าว
1.5 การตรวจสอบเนื้อหาในการตรากฎหมายของประเทศไทย
นอกจากการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการเสนอ
ร่างกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 มาตรา 5 จึงได้ก าหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายต้องจัดท าและตรวจสอบเนื้อหา
ของร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่ (1) ร่างกฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักการ
ทั่วไปในการตรากฎหมาย (2) ร่างกฎหมายต้องก าหนดให้มีการใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จ าเป็น (3) ร่าง
กฎหมายต้องก าหนดให้มีการใช้ระบบคณะกรรมการเฉพาะกรณีที่จ าเป็น (4) ร่างกฎหมายต้องก าหนด
หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้
ในร่างกฎหมายนั้นให้ชัดเจน (5) ร่างกฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก าหนดโทษอาญา ซึ่งเป็นการ
12
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 13.
13
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 14 วรรค
หนึ่ง.
14 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, มาตรา 16.