Page 25 - kpiebook65020
P. 25
xi
เกิดขึ้นว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลประทบในระยะยาวหรือเป็นเพียงปัญหาชั่วคราว รวมถึงระบุหลักฐานและข้อมูล
เชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ส่วนที่ 2 ทางเลือกก ากับดูแลการปล่อยเช่าระยะสั้น (Options) คณะผู้จัดอบรมได้น าตัวอย่าง
ทางเลือกก ากับดูแลการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม ทั้ง 5 ทางเลือก มาปรับเพื่อออกแบบทางเลือก
ก ากับดูแลที่เรียบง่ายและตรงกับขอบเขตของ พร้อมทั้งเปรียบเทียบแนวทางการก ากับดูแลการปล่อยเช่าระยะ
สั้นผ่านแพลตฟอร์ม รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้ระบุไว้ในส่วนที่ 1 ของแต่ละทางเลือก
ส่วนที่ 3 การค านวณต้นทุน-ประโยชน์ เป็นการค านวณต้นทุน-ประโยชน์ในการก ากับดูแลการปล่อย
เช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มของทางเลือกทั้ง 5 ทางเลือก โดยต้นทุนส าคัญในกรณีนี้คือ “ต้นทุนจากการ
ร้องเรียนและติดตามแก้ไขปัญหาเดือดร้อนร าคาญ” ด้วยเหตุที่ไม่มีกฎหมายก าหนดผู้รับร้องเรียนเหตุเดือดร้อน
จากการปล่อยเช่าระยะสั้นอย่างชัดเจน โดยท าการค านวณต้นทุนที่เกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ว่ามี
ต้นทุนอะไรบ้าง ต้นทุนต่อหน่วยจ านวนเท่าไหร่ และต้นทุนรวมต่อปีเป็นจ านวนเท่าใด และค านวณประโยชน์ที่
จะได้รับของผู้มีส่วนได้เสียว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ประโยชน์ต่อรายต่อครั้งและต่อปีเป็นเท่าใด
ส่วนที่ 4 การเปรียบเทียบต้นทุน-ประโยชน์ของการก ากับดูแลแต่ละทางเลือก เป็นการเปรียบเทียบ
ต้นทุน-ประโยชน์ของการก ากับดูแลแต่ละทางเลือก และจัดอันดับว่าทางเลือกใดที่มีประโยชน์สุทธิมากที่สุด
ส่วนที่ 5 สรุปทางเลือกก ากับดูแลการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม ผลการค านวณต้นทุน-
ประโยชน์ ภายใต้ข้อสมมติฐานต่าง ๆ ที่คณะผู้จัดอบรมก าหนดไว้นั้น แสดงให้เห็นว่า ทางเลือก “สภาพ
ปัจจุบัน (base case)” ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจากการมีประโยชน์สุทธิสูงสุด
3. การจัดท าคู่มือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการจัดท าคู่มือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย เพื่อใช้เป็น
แนวปฏิบัติและข้อแนะน าส าหรับผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการนิติบัญญัติ ส่วนราชการ และภาคประชาชนที่
ต้องการจัดท าหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และสามารถน าไปใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรา
กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า
โดยในคู่มือดังกล่าว มีเนื้อหาที่ส าคัญ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย เนื้อหาในส่วนนี้เป็นการ
อธิบายถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย ซึ่งจะท าให้ผู้เข้า
อบรมตามหลักสูตรฯ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องสามารถท าความเข้าใจถึงเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ในการ
ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยเนื้อหาในส่วนนี้ประกอบด้วย การอธิบายความรู้
พื้นฐานว่าด้วยการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบร่างกฎหมาย
(Regulatory Impact Assessment: RIA) และหลักการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม
ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย เนื้อหาในส่วนนี้เป็นการ
อธิบายถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมายประกอบด้วย สาระส าคัญของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และ
กฎหมายล าดับรองต่าง ๆ เช่น แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย คู่มือการจัดท า
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมถึงหลักเกณฑ์การตรวจสอบเนื้อหาในการตรา