Page 24 - kpiebook65020
P. 24
x
(Workshop) ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ของ
ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ทั้งนี้ กรณีศึกษา เรื่อง “การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่าน
แพลตฟอร์ม (short-term rental)” มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดในการวิเคราะห์ทางเลือกในการก ากับดูแล
15
การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม ดังต่อไปนี้
แพลตฟอร์มส าหรับการเช่าที่พักระยะสั้น (short-term accommodation platforms) หรือที่
เรียกว่า home sharing เป็นหนึ่งในธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เชื่อมต่อบุคคลที่มีห้องหรือบ้านพักที่ว่าง และปล่อยเช่า
รายวันแก่บุคคลที่ก าลังหาที่พักผ่านระบบแพลตฟอร์ม (platform) ความนิยมของแพลตฟอร์มส าหรับการเช่า
ที่พักระยะสั้นสามารถพบเห็นได้ทั่วโลก เนื่องจากให้ทางเลือกใหม่ สะดวก รวดเร็วและอาจมีราคาถูกกว่า
โรงแรมทั่วไป สถานการณ์ในประเทศไทยก็เป็นเช่นเดียวกัน จากการวิเคราะห์จากหน่วยงานเอกชนระบุว่ามี
การเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มส าหรับการเช่าที่พักระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากอัตราการเช่าผ่าน Airbnb
ในช่วงปี 2559-2561 ที่เพิ่มขึ้น 60% ต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการด าเนินธุรกิจดังกล่าวจะมีการเติบโตสูงในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่มีกฎหมาย
ควบคุมการด าเนินธุรกิจดังกล่าวอย่างชัดเจน ซึ่งอาจท าให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้
เช่น ปัญหาการรบกวนผู้อยู่อาศัยประจ าในอาคารพักอาศัยนั้น หรือปัญหาการแข่งขันที่ไม่อยู่บนกฎเกณฑ์ที่เท่า
เทียมกัน (level playing field) กับธุรกิจโรงแรมที่ต้องขอใบอนุญาตในการประกอบกิจการอย่างถูกต้องและมี
ต้นทุนที่มากกว่า เป็นต้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจขยายตัวรุนแรงขึ้นในอนาคต หากยังไม่มีการก ากับดูแล
อย่างเหมาะสม
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงท ามาสู่การวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดการและควบคุมปัญหาดังกล่าวมิ
ให้เกิดขึ้นและสร้างผลกระทบต่อสังคมโดยรวม โดยคณะผู้จัดอบรมได้น าเสนอแนวทางในการก ากับดูแล
“การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม” จ านวน 5 แนวทาง กล่าวคือ 1) Base case สภาพปัจจุบันในการ
แก้ปัญหาดังกล่าว 2) ทางเลือกที่ 1 การก ากับดูแลกันเอง (Self-regulation) เช่น การก าหนดแนวปฏิบัติทาง
ธุรกิจ มาตรฐานระบบร้องเรียน หรือระบบตรวจสอบและรายงานผล 3) ทางเลือกที่ 2 ระบบจัดการปัญหาด้วย
กฎหมายอาคารชุด (Condominium act/regulation) เช่น การก าหนดข้อปฏิบัติของนักท่องเที่ยว หลักการ
ชดเชยค่าเสียหาย หรือการห้ามหรืออนุญาตการปล่อยเช่า 4) ทางเลือกที่ 3 การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่าน
แพลตฟอร์มแบบมีเงื่อนไข (Rent regulations) เช่น การก าหนดข้อปฏิบัติของนักท่องเที่ยว ระยะเวลาการเข้า
พัก จ านวนวันที่ปล่อยเช่าต่อปี จ านวนห้องที่สามารถปล่อยเช่า หรือการให้เจ้าของอยู่ในบ้าน และ 5)
ทางเลือกที่ 4 ระบบใบอนุญาตปล่อยเช่าระยะสั้นฯ (Registration) เช่น การขอใบอนุญาตที่เกี่ยวกับมาตรฐาน
ความปลอดภัย ใบอนุญาต/จดทะเบียนเพี่อตรวจสอบการด าเนินการตามมาตรฐาน เป็นต้น
ในการพิจารณาเพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการก ากับดูแลการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม
คณะผู้จัดอบรมจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้น าเสนอแนวทางในการวิเคราะห์
ผลกระทบในการออกกฎหมาย เพื่อเป็นตัวอย่างในการก ากับดูแลการด าเนินกิจกรรมดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ระบุปัญหา โดยระบุสภาพปัญหา (Pain points) ที่เกิดขึ้น คือ ปัญหารบกวนผู้อยู่อาศัย
ประจ า และการแข่งขันที่ไม่อยู่บนกฎเกณฑ์ที่เท่าเทียมกัน (level playing field) ระบุกลุ่มที่ได้รับความ
เดือดร้อน ขนาดของกลุ่มดังกล่าว ปัญหาที่กลุ่มนั้นต้องเผชิญ ความรุนแรงของปัญหา การประเมินปัญหาที่
15
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) หลักสูตรวุฒิบัตรการ
วิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
(2563).