Page 23 - kpiebook65020
P. 23

ix


               ผสมผสานมุมมองการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายผ่านทางด้านการบริหารจัดการภาครัฐและทางนิติศาสตร์
               เพื่อให้หน่วยงานได้มีโอกาสทบทวนและไตร่ตรองถึงประสิทธิภาพของมาตรการที่ตนเลือก ผลที่อาจเกิดขึ้นจาก

               การใช้มาตรการดังกล่าว ประกอบกับความชอบด้วยกฎหมายในการเลือกใช้มาตรการนั้น

                       1.6 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (การจัดท า Checklist)

                       การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตาม“แบบรายงานการวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” แนบท้าย “แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย”
               ที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายประกาศโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอ านาจตามมาตรา 17
               แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

               โดยสามารถพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) เหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
               จากกฎหมาย และ (2) เหตุผลความจ าเป็นในการใช้ระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การก าหนดโทษอาญา
               และหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้

                       1) การรายงานเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย มี
               วัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานได้ตรวจสอบและชี้แจงเหตุผลว่าเหตุใดการตรากฎหมายจึงมีความจ าเป็นและ

               เป็นวิธีการแทรกแซงของรัฐที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา และวิเคราะห์และคาดการณ์ว่ามาตรการที่จะ
               ก าหนดในร่างกฎหมายนั้น จะท าให้เกิดผลกระทบอย่างไร ต่อผู้เกี่ยวข้องกลุ่มใดบ้าง  ดังต่อไปนี้ (1) สภาพ
               ปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบของปัญหา (2) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของร่างกฎหมาย

               (3) การแก้ปัญหาในปัจจุบัน (4) การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง (5) ความสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงกับ
               กฎหมายอื่น (6) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย  (7) ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและ
               บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย และ (8) ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                       2) การรายงานการตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย เป็นการตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย
               โดยจะพิจารณาเหตุผลความจ าเป็นในการใช้ (1) ระบบอนุญาต (2) ระบบคณะกรรมการ (3) การก าหนดโทษ

               อาญา (4) การก าหนดดุลพินิจในการออกค าสั่งทางปกครองหรือด าเนินกิจการทางปกครอง  โดยหน่วยงานที่
               ต้องการจะเสนอให้ใช้กลไกข้างต้นในการแก้ปัญหาตามที่ระบุในข้อ 1 ต้องพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุผลความ
               จ าเป็นในการใช้มาตรการเหล่านี้ให้ถี่ถ้วนก่อน ว่าจะสามารถท าให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ตั้งไว้ได้จริง
               หรือไม่ เนื่องจากกลไก 4 ประการข้างต้นนี้เป็นมาตรการทางกฎหมายที่พบได้แพร่หลายในระบบกฎหมายของ
               ประเทศไทย และมักจะเป็นมาตรการส าคัญที่สร้างอุปสรรค ภาระ หรือผลกระทบทางด้านร้ายต่อผู้เกี่ยวข้อง

               ทั้งต่อภาครัฐและภาคประชาชน เฉพาะกรณีที่หน่วยงานได้ก าหนดกลไกเหล่านี้ไว้ในร่างกฎหมายที่เสนอเท่านั้น
               ที่จะต้องจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบฯ ในส่วนนี้



               2. การจัดท ากรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอนและทดลองใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรา
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบัน

               พระปกเกล้า

                       คณะที่ปรึกษาได้ด าเนินการจัดท ากรณีศึกษาในการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผล
               สัมฤทธิ์ของกฎหมาย โดยได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
               (TDRI)  ซึ่งได้ออกแบบข้อเท็จจริง ประเด็นปัญหา และการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ ในประเด็น
               “การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม (short-term  rental)”  ซึ่งได้น าไปใช้กับการอบรมเชิงปฏิบัติการ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28