Page 40 - kpiebook65020
P. 40

1

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                                        บทที่ 1

                                         แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการจัดท าโครงการ



               1.1 หลักการและเหตุผล

                       ที่ผ่านมานั้น กรอบการตรวจสอบการตรากฎหมายของประเทศไทยจะมีเพียงการตรวจสอบความชอบ
               ด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเท่านั้น กล่าวคือ เป็นการตรวจสอบว่ากฎหมายที่ตราขึ้นนั้นขัดหรือแย้งต่อ
               บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ สิ่งใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ รัฐย่อมออกกฎหมายมาบังคับใช้กับ

               ประชาชนได้เสมอ อย่างไรก็ดี แม้กระบวนการตรากฎหมายหรือเนื้อหาของกฎหมายนั้นจะไม่ขัดหรือแย้งกับ
               รัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ก็อาจสร้างผลกระทบหรือสร้างภาระให้กับประชาชนเกินสมควรได้ ต่อมาได้มีการก าหนด
               กรอบการตรวจสอบการตรากฎหมายให้กว้างขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รัฐใช้อ านาจโดยผ่านการตรากฎหมายในการ

               จ ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจนเกินสมควร รัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่ผ่านมาจึงได้ก าหนดหลักเกณฑ์
               ในการตรากฎหมายมาจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นกรอบในการตรวจสอบการตรากฎหมายทั้ง
               ด้านรูปแบบและเนื้อหาของกฎหมาย ด้านรูปแบบของกฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญก าหนดให้กฎหมายที่จะจ ากัดสิทธิ
               และเสรีภาพของประชาชนจะต้องเป็นกฎหมายในล าดับของพระราชบัญญัติและต้องอ้างบทบัญญัติของ
               รัฐธรรมนูญที่ให้อ านาจในการจ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนไว้ให้ปรากฏในกฎหมายฉบับนั้น ๆ ในส่วน

               เนื้อหาของกฎหมายนั้น กฎหมายที่จะจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่
               รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้และจะต้องไม่เป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจนเกินสมควร อีกทั้ง
               กฎหมายจะต้องไม่มีลักษณะให้เกิดผลในการบังคับแก่กรณีใดหรือแก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะด้วย ทั้งนี้ หลักการ

               ดังกล่าวได้รับรองไว้ในมาตรา 26 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                       แต่อย่างไรก็ดี การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและการก าหนดหลักเกณฑ์ในการ
               ตรากฎหมายมาจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะกฎหมายเฟ้อ ปัญหาการ
               บังคับใช้กฎหมายอันเนื่องมาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือมาตรการทางกฎหมายที่ไม่อาจ
               ด าเนินการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งปัญหาของกฎหมายที่สร้างผลกระทบหรือสร้างภาระต่อรัฐและประชาชนจน

               เกินสมควรได้ ดังนั้น ในการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงได้ก าหนดให้มีการ
               ประเมินผลกระทบของกฎหมายก่อนที่ตรากฎหมายออกมาบังคับใช้กับประชาชน โดยก าหนดหลักการไว้ในมาตรา
               77 วรรคสอง ว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและ

               การวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน
               เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ก าหนด
               โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ

               บริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป” เพื่อก าหนดกรอบและหลักการส าคัญในการตรากฎหมาย ตามแนวคิดที่ว่าไม่ควร
               มีกฎหมายเกินความจ าเป็น และสร้างหลักประกันให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ด้วยตั้งแต่ต้น

                       หลักการตามมาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาจาก
               แนวคิดเรื่องการประเมินผลกระทบของกฎหมาย (Regulatory  Impact  Assessment  หรือ RIA)  ซึ่งเป็น
               กระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการออกกฎหมาย ทั้งนี้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45