Page 44 - kpiebook65020
P. 44
5
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
บทที่ 2
องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความจ าเป็น
และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
คณะที่ปรึกษาได้ด าเนินการส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียนและวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
การด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย มาท าการศึกษา
วิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับการศึกษาตามหลักสูตรวุฒิบัตรการ
วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ของส านักนวัตกรรมเพื่อ
ประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ในการนี้คณะที่ปรึกษาได้จัดท าองค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความ
จ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายทั้งสิ้น 6 เรื่องที่ส าคัญ ได้แก่ 2.1) ความรู้พื้นฐานว่า
ด้วยการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบร่างกฎหมาย 2.2) ความรู้
พื้นฐานว่าด้วยนิติเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics) 2.3) หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. 2562 2.4) การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม 2.5) การจัดท ารายงานวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรากฎหมาย (การจัดท า Checklist) และ 2.6) การตรวจสอบเนื้อหาในการ
ตรากฎหมายของประเทศไทย
2.1 ความรู้พื้นฐานว่าด้วยการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบร่าง
กฎหมาย
การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบร่างกฎหมายจ าเป็นต้องมี
ความรู้พื้นฐาน ดังต่อไปนี้ (1) ความหมาย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย (Regulatory Theory) เพื่อ
เข้าใจถึงเป้าหมายและหลักการของการออกกฎหมาย (2) การผ่อนคลายกฎ (Deregulation) เพื่อเข้าใจ
ผลกระทบของการออกกฎหมายและวิธีการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้กฎหมาย (3) ความหมายและหลักการของการ
วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory Impact Assessment : RIA) และ (4) แนวทางในการ
จัดท า RIA ตามแนวทางของ OECD ตัวอย่างและประสบการณ์ในต่างประเทศ
2.1.1 ความหมาย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย (Regulatory Theory)
ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายความหมายของกฎ เมื่อใดจึงจ าเป็นต้องออกกฎ รูปแบบการก ากับดูแล
และการออกกฎ และต้นทุนในการก ากับดูแลและการออกกฎ
2.1.1.1 ความหมายของกฎ (Regulation)
เมื่อกล่าวถึง “กฎ” (Regulation) เรามักจะนึกถึงสถานการณ์ที่หน่วยงานของรัฐ ‘บังคับ’
หรือ ‘ควบคุม’ พฤติกรรมบางอย่างในสังคมผ่านการออกกฎหรือค าสั่ง โดยรัฐมีอ านาจเข้ามาแทรกแซงการ
ด าเนินชีวิตของผู้คนในสังคมให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งตามที่รัฐพิจารณาแล้วว่าสมควร อย่างไรก็ตาม
กฎนั้นไม่จ าเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับการถูกบังคับ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการออกแบบกฎและสมัครใจ
ที่จะท าตามกฎที่ออกมาได้ นอกจากนี้แล้วกฎยังไม่จ าเป็นจะต้องมีลักษณะ ‘ควบคุม’ ประชาชนเพียงอย่าง