Page 41 - kpiebook65020
P. 41

2

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               การประเมินผลกระทบของกฎหมายมีเป้าประสงค์หลักสองประการ ได้แก่ ประการแรก เพื่อพัฒนากระบวนการใน
               การก าหนดกฎกติกาในการก ากับดูแลของภาครัฐ และประการที่สอง เพื่อปรับปรุงคุณภาพของกฎระเบียบของ
               ภาครัฐให้มีคุณภาพ โดยกระบวนการประเมินผลกระทบของกฎหมายให้ความส าคัญแก่การเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วน
               ได้เสียมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐที่มีด าริที่จะจัดท ากฎหมาย

               ขึ้นมาและก าหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องชี้แจงเหตุผลและความจ าเป็นในการออกกฎหมาย ตลอดจนผลกระทบที่
               คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งท าให้กระบวนการพัฒนากฎหมายมีความโปร่งใสและรอบคอบมากขึ้น ในขณะเดียวกัน
               กระบวนการดังกล่าวสามารถช่วยให้กฎหมายที่ภาครัฐก าหนดขึ้นมานั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นเพราะได้ผ่านการซักถาม

               ชี้แจง ถกเถียง ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลจากหลายภาคส่วนแล้ว ดังนั้น ร่างกฎหมายที่ผ่าน
               การการประเมินผลกระทบของกฎหมายที่สมบูรณ์แบบจะมีแรงต้านน้อยเนื่องจากได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ที่
               เกี่ยวข้องแล้วในระดับหนึ่ง

                       เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
               กฎหมายให้สอดคล้องกับวิธีการและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช 2560 และการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ค. ด้าน
               กฎหมาย (1) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  จึงได้มีการประกาศใช้
               พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อให้
               เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวที่จะก ากับมิให้มีการตรากฎหมายในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความ

               เดือดร้อนหรือไม่สะดวกและสร้างขั้นตอนเกินความจ าเป็น

                       การเกิดขึ้นของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ
               พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ท าให้
               เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อการตรากฎหมายในระบบของประเทศไทยในวงกว้าง กล่าวคือ แต่เดิมเมื่อหน่วยงาน
               ภาครัฐเสนอกฎหมาย และให้ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างกฎหมาย และเสนอต่อรัฐสภาเพื่อ

               พิจารณาอนุมัติก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่หลักจากมีบทบัญญัติดังกล่าวแล้วท าให้ก่อนการตรา
               กฎหมายทุกฉบับจะต้องมีการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย โดยต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น
               ของผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และต้องเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและ
               การวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนด้วย

               นอกจากนี้ เมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุก 5 ปี โดยรับ
               ฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย อันจะท าให้กฎหมายมีความทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพการณ์
               ที่เปลี่ยนแปลงไป

                       สถาบันพระปกเกล้า โดยส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตยเห็นถึงความส าคัญของการตรวจสอบความ

               จ าเป็นในการตรากฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ
               พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงได้ท า
               การพัฒนา “หลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย”  ขึ้น
               โดยมุ่งหวังให้หลักสูตรดังกล่าวมีส่วนในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของผู้เกี่ยวข้องใน
               กระบวนการจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายได้สมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและ

               กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46