Page 17 - kpiebook65053
P. 17
“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น” โดย สถาบันพระปกเกล้า
ค่าธรรมเนียม รายได้จากการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ รายได้จากการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง
2
วัฒนธรรม รายได้จากการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพสูง การบ าบัดน้ าเสีย การจัดการขยะ เป็นต้น
(2.4) มีการพัฒนาโดยบูรณาการทั้งรูปแบบการพัฒนาแบบเดิม เช่น มีการ
ด าเนินการตามนโยบายจากรัฐส่วนกลาง และรูปแบบการพัฒนาแบบใหม่ที่ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
และค านึงถึงบริบทและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถและ
เพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
(2.5) ควรมีการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้อิสระในการจัดการ
ปัญหา และส่งเสริมให้มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรมในท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไก
ในการจัดสรรบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน เช่น การศึกษา การสาธารณสุข มีการแก้กฎหมายและปรับ
บทบาทขององค์กรตรวจสอบ เน้นการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์มากขึ้น
(2.6) ในระยะยาวนอกจากการกระจายอ านาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ควรมีการกระจายอ านาจให้กับพื้นที่ของชุมชน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการตามบริบทภายในพื้นที่ และมีการ
สนธิก าลัง (synergy) จากภาคส่วนต่างๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐระดับภาค ระดับภูมิภาค ภาคเอกชน ภาค
ประชาสังคม สถาบันวิชาการ และประชาชน โดยเน้นการท างานแบบมีส่วนร่วม (collaboration) เป็น
เครือข่าย (network) มีความเชื่อมโยงกัน (connected) ตลอดจนมีกลยุทธ์ในการด าเนินงานให้เกิดขึ้นจริง
(strategy) เพื่อให้เกิดกระบวนการทางนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ที่สามารถน าไปสู่การปฏิบัติได้
ร่วมกัน (Participatory public policy process) ลดการก าหนดนโยบายจากส่วนกลาง ทั้งนี้ขึ้นกับเจตจ านง
ของประชาชนในพื้นที่ และศักยภาพของพื้นที่ โดยเป็นการพัฒนาไปในทิศทางที่ก าหนดไว้ร่วมกันของ
ประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้การพัฒนามีความหลากหลาย บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อ
สามารถ เมื่อพื้นที่นั้นสามารถด าเนินการได้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงประจักษ์จึงถอดบทเรียนและขยาย
ผลไปในพื้นที่อื่นต่อไป
3) การปฏิรูประบบสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิตของคนไทย ประเทศไทยควรมีระบบ
สวัสดิการและการประกันสังคมให้แก่คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต เพื่อให้ทุกคนมีความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจ มีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงในการด ารงชีวิตหลังจากที่ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ การปฏิรูป
ระบบสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิต สามารถด าเนินการด้วยแนวทางเชิงนโยบาย ดังนี้
(3.1) นโยบายที่สนับสนุนสวัสดิการให้แก่กลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างความมั่นคงใน
ชีวิต และเพื่อเป็นการจูงใจให้คนรุ่นใหม่มีความสนใจในการประกอบอาชีพในภาคเกษตร
(3.1.1) จัดระบบสวัสดิการส าหรับเกษตรกร ให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุน
สวัสดิการส าหรับเกษตรกรโดยน าเงินจากแหล่งต่างๆเข้าเป็นเงินสมทบของกองทุน ดังนี้
(3.1.1.1) หักรายได้จากค่าพรีเมี่ยมและภาษีการส่งออกสินค้า
การเกษตรส่วนหนึ่งเข้าเป็นเงินสะสมกองทุนส าหรับสวัสดิการของเกษตรกร รวมทั้งจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อน าภาษีมาสมทบกองทุนสวัสดิการส าหรับเกษตรกร เพื่อเป็น
สวัสดิการประเภทหนึ่งส าหรับผู้ประกอบอาชีพในภาคเกษตร
(3.1.1.2) จัดสรรงบประมาณร้อยละ0.1 ต่อปีของจีดีพี (GDP)
ภาคเกษตรเข้าเป็นเงินกองทุนสวัสดิการส าหรับเกษตรกร
2 วุฒิสาร ตันไชยและคณะ. (2558). ข้อเสนอเชิงนโยบายนวัตกรรมการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สถาบันพระปกเกล้า.
กรุงเทพฯ.
16