Page 140 - kpiebook65064
P. 140

90           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                         4.2.1 ตัวอย่างการคัดเลือกยาจำเป็น กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์


                              การคัดเลือกยาจำเป็นเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ซึ่งถูกทำขึ้นเพื่อสร้างความ

                   มั่นใจว่ายาที่ใช้ในสถานพยาบาลของรัฐมีราคาที่เหมาะสม โดยนิยามของคำว่า รายการยามาตรฐาน
                   SDL (Standard Drug List: SDL) มีความหมายเดียวกันกับรายการยาจำเป็น กล่าวคือ

                   รายการยามาตรฐาน หมายถึง รายชื่อของยาที่มีต้นทุนในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งใช้ในการ
                   รักษาโรคพื้นฐานที่ประชาชนส่วนใหญ่มักจะต้องเข้ารับการรักษา โดยรายการยามาตรฐานดังกล่าว
                   ดำเนินการจัดทำให้สอดคล้องกับรายการยาจำเป็นของ WHO


                              ในการคัดเลือกยาเพื่อเข้าสู่ SDL มีหน่วยที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานอยู่
                   2 หน่วยงาน คือ หน่วยงานทางด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์และการใช้ยา (the Pharmacoeconomics
                   and Drug Utilization Unit: PEDU) ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2544 ภายใต้หน่วยงาน the Centre for

                   Drug Administration หรือ CDA ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ คอยทำหน้าที่สนับสนุนการทำงาน
                   ของกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านยา ซึ่งจะได้รับเงินสนับสนุนอย่างเต็ม

                   ที่จากรัฐบาล เพื่อทำการปรับปรุงรายการยามาตรฐาน SDL

                              ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางบริหารจัดการรายการยา SDL
                   ได้แก่ (1) กระทรวงสาธารณสุขจะทำการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการปรับปรุงรายการยา

                   มาตรฐาน SDL ทุกปี และ (2) เปิดโอกาสให้คณะกรรมการยาของสถานพยาบาลของรัฐที่มี
                   คุณสมบัติเหมาะสมสามารถสมัครเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านยาได้ ซึ่งถือ
                   เป็นการพัฒนาให้มีรูปแบบการทำงานที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข (Ministry

                   of Health: MOH) เป็นหน่วยงานผู้มีอำนาจในการกำหนดรายการยามาตรฐาน (Standard Drug
                   List: SDL) ขึ้น ซึ่งเทียบเท่ากับบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เดียวกัน

                   แต่มีระบบการอุดหนุนที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพได้ในราคาที่
                   เหมาะสม

                              รายการยามาตรฐาน SDL แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ SDL 1 และ SDL 2 โดย
                   ยาที่อยู่ในกลุ่ม SDL 1 จะเป็นยาที่ใช้ในการรักษาลำดับแรกสุด หรือ first-line ที่มีราคาเหมาะสม

                   กับประสิทธิภาพในการรักษาโรคและต้องใช้กับผู้ป่วยจำนวนมาก ในส่วนของ SDL 2 จะเป็นยา
                   first-line ที่มีราคาแพง จำเป็นต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการ

                                                 15
                   ตายอันดับต้นๆ ของชาวสิงคโปร์  ซึ่งต่อมาได้รวมรายการยารักษาโรคที่มีราคาแพงอื่นๆ ที่แม้ไม่
                   เป็นอันตรายร้ายแรงเข้าไปใน SDL 2 ด้วย

                              สำหรับการคัดเลือกยามาตรฐาน SDL ต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการที่
                   ปรึกษาทางด้านยา (Drug Advisory Committee: DAC) และได้รับการอนุมัติโดยกระทรวง

                   สาธารณสุข ทั้งนี้ การที่จะทราบว่าผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้จริงหรือไม่ สามารถพิจารณา


                         15  โรคที่เป็นสาเหตุการตายส่วนใหญ่ของชางสิงคโปร์ ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคปอดบวม โรคหลอดเลือด
                   และอุบัติเหตุ



                   บทที่ 4
                   สถาบันพระปกเกล้า
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145