Page 139 - kpiebook65064
P. 139

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ    89
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                      3) เป็นยาที่อยู่ในรูปแบบที่มีคุณภาพ ทำให้สามารถออกฤทธิ์ในการรักษาได้ดี

                                      4) ในกรณีที่มียาที่ออกฤทธิ์เหมือนกัน ต้องพิจารณาถึงประเด็นของความมี

                                         ประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมแก่ราคา และสามารถเข้าถึงได้
                                         อย่างระมัดระวัง

                                      5) ในการประเมินต้นทุนราคายา ต้องทำการพิจารณาทั้งต้นทุนต่อหน่วย และต้นทุน

                                         ต่อการรักษาทั้งหมด ซึ่งอาจอาศัยการพิจารณาด้วย cost/benefit ratio

                                      6) ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องนำปัจจัยอื่นมาประกอบการคัดเลือกยาด้วย เช่น การ
                                         เปรียบเทียบคุณสมบัติทางเภสัชจลศาสตร์ หรือการประเมินปัจจัยทางด้านพื้นที่

                                         เช่น ความพร้อมของสถานพยาบาล สถานที่ทำการผลิต และจัดเก็บรักษา

                                      7) ยาจำเป็นควรเป็นยาที่มีส่วนประกอบเดียว หรือให้ฤทธิ์ในการรักษาเพียงอย่างเดียว
                                         แต่หากเป็นยาที่มีส่วนประกอบหลายอย่างควรที่จะระบุกลุ่มที่ต้องการใช้ และ

                                         สามารถพิสูจน์ได้ว่ามียาที่มีหลายส่วนประกอบมีประสิทธิภาพ และมีความ
                                         ปลอดภัยมากกว่าการแยกส่วนประกอบออกเป็นยาที่มีองค์ประกอบเดียว

                           ตารางที่ 4.5 ปัจจัยหลักในการพัฒนาและปรับปรุงระบบยาจำเป็น

                                                                  ปัจจัยหลัก

                           การสร้างฐานข้อมูลและข้อมูลยาจำเป็นให้ทันสมัยด้วยกระบวนการที่มีความโปร่งใสพร้อมรับฟังความเห็น
                           จากผู้มีส่วนได้เสียหลัก โดยไม่ละทิ้งกระบวนการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

                           การเชื่อมโยงรายการยาจำเป็นกับแนวทางการรักษา สำหรับการโรครักษาทั่วไปและโรคเฉพาะทาง

                           การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุง จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเภสัชกรรม
                           ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยทางคลินิก สถาบันฝึกอบรมต่างๆ องค์กรหรือหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ องค์กร
                           อิสระต่างๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป

                           การจัดทำรายการยาจำเป็น คู่มือสูตรยา และแนวทางในการรักษา ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง
                           และเข้าถึงได้ง่าย ทั้งในรูปของเอกสาร และเอกสารอิเล็กทรอนิคส์
                           การประกาศรายชื่อหรือรายการยาจำเป็นใหม่หรือทบทวนรายการยาจำเป็น ที่ประกาศโดยผู้มีอำนาจ
                           จะต้องได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะ


                           ความชัดเจนของกฎหมาย หรืออำนาจการบริหารจัดการรายการยาจำเป็น
                           การกำหนดวิธีการบริหารจัดการ และการควบคุมงบประมาณ สำหรับการควบคุมการใช้ยาที่นอกเหนือจาก
                           รายการยาจำเป็น

                           มีการปรับปรุงรายการยาที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสะท้อนการพัฒนาในการรักษาโรค การเปลี่ยนแปลง
                           ของต้นทุนการผลิตรูปแบบของการดื้อยา และปัจจัยด้านสาธารณสุขอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

                           ที่มา: ดัดแปลงจาก WHO. 2012. Managing Access to Medicines and Health Technologies (Third Edition)







                                                                                                             บทที่ 4
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144