Page 136 - kpiebook65064
P. 136
86 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
o ได้รับการสนับสนุนทางด้าน R&D อย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือ หน่วยงานหรือ
องค์กรควรได้รับเงินอุดหนุน เพื่อให้สามารถดำเนินการทดลอง ตรวจสอบ
วิจัยและพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถที่เท่าทันกับเอกชน
(3) ควรสร้างระบบฐานข้อมูลยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อสร้างความโปร่งใสและ
เข้าถึงง่ายของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนยา ควรให้ประชาชนทั่วไป
สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยมีองค์ประกอบของข้อมูล ได้แก่ ชื่อรูปแบบปริมาณ
รูปแบบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายข้อบ่งใช้ข้อห้ามและข้อจำกัดในการใช้ รวมถึงราคา
ขาย เป็นต้น การเปิดเผยข้อมูลจะส่งผลให้เกิดการสร้างสภาพของการแข่งขันกัน
ของผู้ผลิต อันนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพยาอีกด้วย
4.2 การคัดเลือกยา (Selection)
การคัดเลือกยา หมายถึง การเลือกยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาแล้ว ให้มาอยู่ในบัญชียา
จำเป็น ตามความเหมาะสมในการใช้ยา การใช้ยาอย่างสมเหตุผล และความสะดวกในการบริหาร
จัดการ รวมถึงการวางนโยบายทางด้านสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งผู้ที่มีอำนาจในการคัดเลือกยาอาจได้
รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาล หรือเป็นหน่วยงานเฉพาะ
ในเชิงนโยบาย การจัดทำบัญชียาจำเป็นจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในการ
เข้าถึงยาจำเป็นที่มีคุณภาพเหมาะสมแก่ราคา ยาจำเป็นส่วนใหญ่เป็นยาที่ประชาชนส่วนใหญ่
ควรเข้าถึงได้ทุกเมื่อที่มีการเจ็บป่วย แต่การคัดเลือกยาดังกล่าวขึ้นอยู่กับนโยบายแห่งชาติและการ
จัดลำดับความสำคัญของยาในแต่ละประเภท นั่นคือ มิได้หมายความว่ายาทุกชนิด ทุกประเภท
หรือทุกโรค จะได้รับการบรรจุเข้าสู่บัญชียาจำเป็น
ในการดำเนินการเพื่อทำการคัดเลือกยาจำเป็น WHO ได้นำหลักการนี้มาใช้ตั้งแต่ พ.ศ.
2520 โดยคำนึงถึงความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน จำนวนการเกิดซ้ำของโรค หลักฐานทาง
วิชาการทั้งในแง่ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ คณะกรรมการ
ผู้เชี่ยวชาญของ WHO จะปรับปรุงรายการยาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องทุกสองปี คณะกรรมการ
ดังกล่าวจะประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรมคลินิก การประเมินของแพทย์ และผลงาน
วิจัยเชิงวิชาการ ผ่านการหารือร่วมกันหลายครั้ง อย่างโปร่งใส และเปิดเผย
th
รายการยาจำเป็นของ WHO ฉบับปัจจุบัน ได้แก่ The 18 WHO Essential Medicines
List และมีรายการยาจำเป็นสำหรับเด็ก คือ The 4 WHO Essential Medicines List for
th
Children ทั้งนี้ รายการยาจำเป็นดังกล่าวไม่ได้เป็นมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ในทุก ๆ ประเทศ แต่ละ
ประเทศสามารถนำรายการยาจำเป็นของ WHO ไปประยุกต์ ใช้ในการพัฒนากลไกของระบบยาใน
ประเทศของตนเองได้ ในบางประเทศอาจยึดถือรายการยาจำเป็นของ WHO เป็นรายการยาจำเป็น
ของประเทศตนเองทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด อาทิ โมซัมบิก และอัฟกานิสสถาน
เป็นต้น หรือในบางประเทศอาจอาศัยรายการยาจำเป็นของ WHO เป็นรายการอ้างอิง เพื่อกำหนด
บทที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า