Page 214 - kpiebook65064
P. 214

164          โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                โดยหน่วยบริการระดับปฐมภูมิกำหนดให้มีรายการยาในบัญชียาไม่เกิน

                   100 รายการ และให้ใช้เฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น

                              2. หน่วยบริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) สามารถแบ่งออกเป็นสามระดับ
                   คือ

                                -   หน่วยบริการระดับทุติยภูมิระดับต้น หมายถึง หน่วยบริการที่มีเตียงรับผู้ป่วย

                                  ไว้นอนรักษาพยาบาล มีภารกิจในด้านการรักษาพยาบาลสิ้นสุดที่การรักษาผู้ป่วย
                                  ใน (IPD) รักษาโรคพื้นฐานทั่วไป (Common problem) ไม่ซับซ้อนมาก เช่น
                                  แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เวชปฏิบัติครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน อาชีวเวชศาสตร์

                                  หรือระบาทวิทยา โดยกระทรวงสาธารณสุขให้หน่วยบริการทุติยภูมิระดับต้นเป็น
                                  ระดับบริการ 2.1 ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน (รพช.)

                                -   หน่วยบริการระดับทุติยภูมิระดับกลาง หมายถึง หน่วยบริการที่มีภารกิจด้าน

                                  การรักษาพยาบาลที่ซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก
                                  ได้แก่ สาขาสูติศาสตร์ ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์

                                  ออร์โธปิดิกส์ และวิสัญญีแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุขให้หน่วยบริการทุติยภูมิ
                                  ระดับต้นเป็นระดับบริการ 2.2 ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน (รพช.)

                                -   หน่วยบริการระดับทุติยภูมิระดับสูง หมายถึง หน่วยบริการที่ขยายขอบเขต

                                  การรักษาพยาบาลสลับซับซ้อนขึ้นจำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขารอง
                                  นอกจากแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก เช่น จักษุวิทยา โสต นาสิก ลาลิงข์
                                  รังสีวิทยา จิตเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชบำบัดวิกฤต โดยกระทรวง

                                  สาธารณสุขให้หน่วยบริการทุติยภูมิระดับต้นเป็นระดับบริการ 2.3 ได้แก่
                                  โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) บางแห่งและโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.)

                                เนื่องจากหน่วยบริการทุติยภูมิมีการรักษาพยาบาลโรคที่ยาก ซับซ้อนมากกว่าระดับ

                   ปฐมภูมิ ทำให้บัญชียาของโรงพยาบาลมียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติบ้าง คณะกรรมการ
                   เภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) เริ่มมีบทบาทในสถานพยาบาลระดับนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมี
                   การจัดซื้อยาจะผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ร่วมกับมีการจัดซื้อเฉพาะตาม

                   คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของแต่ละโรงพยาบาลบางส่วน

                                หน่วยบริการระดับทุติยภูมิในกรณีของโรงพยาบาลชุมชนกำหนดให้มีรายการยา
                   ในบัญชียาไม่เกิน 375 รายการ และให้ใช้ยาในบัญชียาหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายการยา

                   ในบัญชียาในโรงพยาบาลทั้งหมด ส่วนโรงพยาบาลทั่วไปกำหนดให้มีรายการยาในบัญชียาไม่เกิน
                   550 รายการ และให้ใช้ยาในบัญชียาหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายการยาในบัญชียาใน
                   โรงพยาบาลทั้งหมด


                              3. หน่วยบริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) สามารถแบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้






                   บทที่ 5
                   สถาบันพระปกเกล้า
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219