Page 217 - kpiebook65064
P. 217

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   167
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                           ซึ่งไม่ใช่ราคาจัดซื้อต่ำสุด โดยส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ต้องจัดซื้อยาแต่ละรายการไม่เกิน

                           ราคากลางยาที่กำหนด ยกเว้นมีเหตุผลอันสมควรที่สามารถชี้แจงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                                                                                                15
                           ปัจจุบันการกำหนดราคากลางยาไม่ได้กำหนดเฉพาะยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น แต่ยังได้

                           ไปกำหนดราคากลางยานอกบัญชียาหลักด้วย

                                       ส่วนหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางยาได้พิจารณาราคาจากความเหมาะสมเป็น
                           รายการตามกลุ่มยาและข้อมูลราคา โดยพิจารณากำหนดราคากลางยาทั้งยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
                           และยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติจากข้อมูลที่จัดหาได้  ที่มีข้อมูลเพียงพอตามเกณฑ์ในการกำหนด
                                                                         16
                           ราคากลาง รวมถึงกำหนดให้คณะอนุกรรมการที่พิจารณากำหนดราคากลางสามารถปรับราคากลาง
                           ให้สูงขึ้นหรือลดลงได้ในกรณีที่รายการยาปรากฏข้อมูลชัดเจนว่ามีต้นทุนสูงขึ้นหรือลดลง หรือ

                           การกำหนดราคากลางยาในรายการเดียวกันสามารถกำหนดให้ราคาต่างกันได้หากปรากฏ
                           ข้อเท็จจริงถึงความแตกต่างในมาตรฐานการผลิตของโรงงานยา

                                       ส่วนวิธีการตั้งราคากลางจะเริ่มพิจารณาจากการจัดกลุ่มยาตามสภาพการแข่งขัน
                           ของยาแต่ละประเภทในตลาดโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งต้องตั้ง

                           ราคาที่สะท้อนต้นทุนและความต้องการของสังคมตามกลไกตลาดเป็นหลัก และ 2) กลุ่มที่มีการ
                           ผูกขาด (ยาที่มีการแข่งขันน้อยรายหรือรายเดียว) ซึ่งต้องตั้งราคาภายใต้ข้อจำกัดและไม่สามารถ

                           อาศัยกลไกตลาดได้มากนัก เช่น ต้องอาศัยการต่อรองราคาเพื่อตั้งราคากลาง (Price Negotiation)
                           เป็นต้น 17

                                       โดยหลักเกณฑ์นี้กำหนดให้มีการทบทวนเพื่อปรับปรุงราคากลางยาอย่างน้อยปีละ

                           1 ครั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติต้องออกประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยา
                           แห่งชาติ เรื่องการกำหนดราคากลางยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อแจ้งให้กับสถานพยาบาลของรัฐ




                                 15  สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, หลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางยา. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ
                           วันที่ 10 เมษายน 2557, จาก http://phdb.moph.go.th/ewtadmin/ewt/hss_pro/ewt_dl_link.php?nid=616
                                 16  ข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาราคากลางยา ได้แก่ (1) ราคากลางที่ประกาศล่าสุด (2) ราคาที่โรงพยาบาลต่าง ๆ
                           สามโดยารถจัดซื้อได้จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข (3) ราคาที่เสนอจำหน่ายโดยบริษัทผู้ผลิตยาหรือผู้แทนจำหน่าย
                           ยา (4) ราคาที่บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการพิจารณายาเข้าไว้ในบัญชียาหลัก
                           แห่งชาติ (5) ข้อมูลราคายาที่ได้จากกลไกการต่อรองราคายาของกระทรวงสาธารณสุขหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง
                           ชาติหรือโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานอื่น (6) ฐานข้อมูลราคายาจากต่างประเทศ เช่น ฐานข้อมูล
                           Drug Price Indicator ของ MSH (Management Sciences for Health) หรือจาก Price Monitoring ขององค์การอนามัย
                           โลก ราคายาหรือราคาอ้างอิงของประเทศอื่น และ (7) ข้อมูลโครงสร้างต้นทุนราคายาและ/หรือหลักฐานการเงินการบัญชีที่
                           เกี่ยวข้อง จากผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือกรมการค้าภายใน ในกรณีที่มีการปรับราคาขึ้นสูงมาก (ถ้ามี)
                                 17  วิธีการตั้งราคากลางมีหลายรูปแบบเช่น 1. Cost-plus pricing เป็นการตั้งราคาแบบต้นทุนบวกกำไร 2. Profit
                           ceiling เป็นการกำหนดสัดส่วนกำไรต่อยอดขาย 3. Comparative pricing เป็นการตั้งราคาจากการเปรียบเทียบราคายา
                           ตัวเดียวกันหรือยาในกลุ่มเดียวกัน โดยอาจเปรียบเทียบทั้งราคาภายในประเทศหรือราคาในต่างประเทศ 4. Price negotiation
                           เป็นการตั้งราคาโดยการต่อรองราคายา และ 5. Pharmacoeconomic calculation เป็นการตั้งราคาจากการเปรียบเทียบต้นทุน
                           ต่อประสิทธิผลการรักษา ดูเพิ่มเติมใน สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, กระบวนการจัดทำราคากลางยา.
                           [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 จากhttp://www.drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/node/10347+&cd=
                           2&hl=th&ct=clnk&gl=th



                                                                                                             บทที่ 5
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222