Page 307 - kpiebook65064
P. 307
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 257
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
7.2.5 ความเสี่ยงอันเกิดจากข้อจำกัดด้านงบประมาณและการจ่าย
ค่าตอบแทนที่ไม่จูงใจให้เกิดการทำงาน
ปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณและการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่จูงใจเกิดจากพระราช-
บัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 5 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม
พระราชบัญญัติ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ กล่าวคือ การออกค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับยาให้
ออกโดยกฎกระทรวงแต่ต้องไม่เกินอัตราในบัญชีแนบท้ายของพระราชบัญญัติ ทำให้อัตรา
ค่าธรรมเนียมมีความล้าสมัย เนื่องจากเป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่แก้ไขเพิ่มเติมตั้งแต่ พรบ. ยา
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 และ พรบ. ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 ในประเภทยาแผนปัจจุบัน เช่น
การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ยาตามตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียนคิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 1,000 บาทหรือ
การขอใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน คิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 3,000 บาท
เป็นต้น ดังนั้น อย. ไม่สามารถพึ่งพารายได้จากค่าธรรมเนียมเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน
ได้มากนัก ยกเว้นรายได้จากงบประมาณประจำปี
ตารางที่ 7.4 อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับยาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
ประเภท อัตรา (บาท)
ก. ประเภทยาแผนปัจจุบัน
(1) ใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ฉบับละ 10,000
(2) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ฉบับละ 3,000
(2 ทวิ) ใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน ฉบับละ 3,000
(3) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่มิใช่ยาอันตรายหรือยา ฉบับละ 2,000
ควบคุมพิเศษ
(4) ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ฉบับละ 2,000
(5) ใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร ฉบับละ 20,000
(6) การพิสูจน์หรือวิเคราะห์ยาตามตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียน ครั้งละ 1,000
(7) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน ฉบับละ 3,000
(8) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 100
(9) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน ฉบับละ 100
ที่มา: พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.ยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 และพรบ. ยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530
ในประเภทยาแผนปัจจุบัน
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า