Page 312 - kpiebook65064
P. 312

262           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                   แจ้งการเพิกถอนตำรับในประเทศไทยเมื่อประมาณปลายธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยไม่แจ้ง

                   สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่กลับทำหนังสือเวียนไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ แทน
                   ทำให้มีการปล่อยให้ใช้ยามานานถึง 2 ปี แม้จะไม่มีอันตรายจากการใช้ยาแต่ทำให้ประชาชนสิ้น

                   เปลืองเงินในการซื้อยาดังกล่าว 32

                              นอกจากนี้ กรณีคลาสสิกเกี่ยวกับความยากลำบากในการถอนทะเบียนตำรับยาที่มี
                   ความล่าช้า คือ การยกเลิกทะเบียนตำรับยาแก้ปวดชนิดซองสูตรเอพีซี (APC) ที่เป็นสูตรยาผสม
                   3 ตัว ได้แก่ แอสไพริน (aspirin) เฟนาซีทิน (phenacetin) และกาเฟอีน (cafeine) เนื่องจากพบ

                   ข้อมูลการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะในกลุ่มชาวบ้าน ผู้ใช้แรงงาน เพราะเป็นยาผงที่ออกฤทธิ์
                   เร็วมาก ถ้ามีการเสพกันเป็นประจำทุกวัน จนเกิดโรคแทรกซ้อนจากยาแอสไพรินคือ กระเพาะ

                   อักเสบ หรือเป็นแผลเลือดออกในกระเพาะอาหารและกระเพาะทะลุ เนื่องจากผู้ใช้ยาอาจเสพติด
                                                              33
                   กาเฟอีนในยาและได้รับผลร้ายจากแอสไพริน  ความยากลำบากในการถอนยาตำรับนี้ ผู้ให้
                   สัมภาษณ์ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากมีกระบวนการล๊อบบี้จากบริษัทผู้ผลิตยา เนื่องจากยาตัวนี้เป็นรายได้

                   หลักของบริษัทและมีชื่อทางการค้าที่คุ้นหู “เพราะธุรกิจ........เขาก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ไปยกเลิก
                   ก็กระทบเขา บริษัทก็บอกไหนเอาเคสคนตายมาดูสิ เป็นความผิดที่คนกินกินไม่ถูกต้อง จะแก้โดย

                   เพิ่มคำเตือนให้ ข้าราชการ อย. ก็กลัวมากที่จะถูกต้องฟ้อง”  ทำให้มีการถอนทะเบียนตำรับยา
                                                                          34
                   ล่าช้า เช่น อ้างว่าถ้ามีคนใช้ยาแล้วเสียชีวิตเป็นความผิดของผู้บริโภคและจะแก้ไขโดยเพิ่มคำเตือน
                   บนซองยาแทน จึงต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะมีการถอนตัวยากาเฟอีนและให้เหลือเพียงตัวยา

                   แอสไพรินเพียงอย่างเดียวโดยใช้ชื่อทางการค้าเดิมได้ ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าการถอนทะเบียนตำรับ
                   ยาตัวนี้อาศัยแรงกดดันจากภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนเข้ามาขับเคลื่อนและมีความพยายาม

                   ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ของ อย. ด้วย 35

                         7.2.7 ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยีหรือ
                   ห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบยาที่ขอขึ้นทะเบียน



                              เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีข้อจำกัดเชิงเทคนิคและทางวิชาการ
                   ต้องอาศัยหน่วยงานอื่นในด้านเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบยาที่ขอขึ้นทะเบียน เช่น การทดสอบ
                   คุณภาพยาเป็นหน้าที่ของสํานักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย อย. และ

                   กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะทำงานร่วมกัน หรือต้องพึ่งพาการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจาก
                   ภายนอก



                         32  ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (17 มกราคม 2557). ผู้เปิดโปงทุจริตซื้อยา “ศิริพร” คว้าเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม
                   วอนออกนอกห้องยาทำงานเพื่อ ปชช.เพิ่ม [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 จากhttp://
                   www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000003996
                         33  หมอชาวบ้าน. (31 สิงหาคม 2549). แอสไพริน อันตราย [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 จาก
                   http://www.doctor.or.th/article/detail/1535
                         34  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F. วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
                         35  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F. วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และผู้ให้สัมภาษณ์ H. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.
                   2556


                   บทที่ 7
                   สถาบันพระปกเกล้า
   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317