Page 311 - kpiebook65064
P. 311
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 261
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
7.2.6 ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการทบทวนตำรับยาอย่างสม่ำเสมอ
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 86 กำหนดให้เพิกถอนยาที่ไม่มีสรรพคุณตาม
ที่ขึ้นทะเบียนหรือเป็นอัตราต่อผู้ใช้หรือเป็นยาปลอมตามมาตรา 72 (1) หรือยานั้นได้เปลี่ยนไปเป็น
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารหรือเครื่องสำอาง โดยได้รับใบอนุญาตผลิตเพื่อจำหน่าย
ซึ่งอาหารที่ควบคุมเฉพาะหรือได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอาง โดยให้รัฐมนตรีภายใต้
คำแนะนำของคณะกรรมการยาสามารถเพิกถอนยาตำรับนั้นได้ รวมถึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์
30
การพิจารณาคัดเลือกยาที่จะทบทวนทะเบียนตำรับยาด้วย แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติยา
มิได้กำหนดระยะเวลาการทบทวนทะเบียนตำรับยา ทำให้ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกลายเป็น
ทะเบียนตำรับยาตลอดชีพและจะมีการทบทวนเมื่อเกิดปัญหา ทำให้ในปัจจุบันมีการตั้ง
คณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ และวางแนวทางการพิจารณา
เพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น
ความเสี่ยงจากการขาดการทบทวนทะเบียนตำรับยาอย่างสม่ำเสมอส่งผลต่อคุณภาพ
ของยาที่ขึ้นทะเบียนในตลาด นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เห็นว่า ประเทศไทยประสบปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม เพราะปัญหาของระบบการขึ้นทะเบียน
ตำรับยาที่ยังล้าหลัง ไม่ทันสมัย ทำให้มียาจำนวนมากที่มีสูตรยาไม่เหมาะสม ต่อการใช้ในปัจจุบัน
เช่น ยาปฏิชีวนะบางรายการที่ยังมีการบรรจุในรูปแบบซองซึ่งส่งผลต่อความคงตัวของยาจนทำให้ยา
เสื่อมคุณภาพได้เร็ว ขณะที่ยาบางรายการมีลักษณะของขวดใส่ยา กล่องบรรจุภัณฑ์ รวมทั้ง
ชื่อทางการค้าที่เหมือนกัน แต่กลับมีตัวยาคนละชนิด ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เข้าใจผิด
เป็นผลให้เกิดการใช้ยาไม่ตรงกับโรค และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ดาริน
จึงพัฒนาวดี ประธานชมรมเภสัชชนบท กล่าวว่า ปัจจุบันมียาที่ไม่เหมาะสมถูกขึ้นทะเบียนเป็น
จำนวนมาก โดยยาบางชนิด ไม่ควรรับประทานคู่กัน แต่ถูกผสมลงในเม็ดยาเดียวกันเช่น ยาแก้ไอ
และยาแก้หวัด ทั้งที่ยาทั้ง 2 ชนิดมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างกัน เช่น ยาแก้ไอจะช่วยบรรเทา
อาการไอ ขับเสมหะ ขณะที่ยาแก้หวัดจะมีผลทำให้เสมหะมีความข้น เหนียวมากขึ้น และเมื่อถูผสม
ลงในเม็ดยาเดียวกัน หากผู้ป่วยมีอาการหวัดและไอพร้อมกัน จะส่งผลให้ผู้ป่วยไอมากขึ้น เนื่องจาก
เสมหะที่ข้นขึ้น 31
นอกจากนี้ การถอนทะเบียนตำรับยายังล่าช้าแม้ว่ายาตำรับนั้นพบปัญหาหรือมีการ
เพิกถอนตำรับยาในต่างประเทศ เช่น การเพิกถอนยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส (Serratiopeptidase)
มีชื่อทางการค้า แดนเซ็น (Danzen) ซึ่งเป็นยาลดบวมที่วงการแพทย์สั่งจ่ายยาตัวนี้ควบคู่กับ
ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพยาปฏิชีวนะได้ แต่ยาตำรับนี้ถูกเพิกถอนในประเทศญี่ปุ่น
ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เพราะมีผลวิจัยว่ายาดังกล่าวไม่ได้ผลในการรักษา แต่บริษัทที่ผลิตยาตำรับนี้เพิ่ง
30 ดูในบทที่ 5
31 ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (25 พฤศจิกายน 2552) เภสัชชนบท จี้ “วิทยา”ถอนทะเบียน 4 ตำรับ ยาไม่เหมาะสม
[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 จากhttp://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=
9520000143239
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า