Page 316 - kpiebook65064
P. 316
266 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
7.3 ความเสี่ยงของกระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชี
ยาหลักแห่งชาติ
การจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการใช้ยาของประเทศ
ที่สอดคล้องกับ (1) ความพอประมาณ (2) ความมีเหตุผล (3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
(4) มีความรู้ (5) มีคุณธรรม โดยกำหนดรายการยาที่เหมาะสมกับการป้องกันและแก้ไขปัญหา
สุขภาพของคนไทย ดังนั้น การสร้างระบบบัญชียาหลักแห่งชาติจึงกำหนดให้เกิดความสอดคล้อง
และใช้ยาอย่างเหมาะสมกับผู้รับบริการด้านสุขภาพภายใต้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Care: UC) ตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน
ของพลเมืองว่าด้วย “ความเท่าเทียม” (Equity) “ความสามารถในการเข้าถึง” (Accessibility)
บริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง และหลัก “ความคุ้มค่า” (Cost-effectiveness) ตามหลักเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์ระบบอภิบาลยาของกระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ พบว่า
มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อธรรมาภิบาลในระบบอภิบาลยา ตามตารางที่ 7.5 และแผนภาพที่ 7.3
ตารางที่ 7.5 ประเด็นและระดับความเสี่ยงต่อธรรมาภิบาลในระบบอภิบาลยา
เฉพาะกระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
ระดับความเสี่ยง
ประเด็นความเสี่ยง ปาน
สูงสุด สูง ต่ำ
กลาง
ขั้นตอนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
1. ความเสี่ยงอันเกิดจากการได้มาของคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ยาแห่งชาติ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
2. ความเสี่ยงอันเกิดจากบทบาทและความขัดแย้งของคณะทำงาน
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์
สาธารณสุข
3. ความเสี่ยงอันเกิดจากการการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะ
กรรมการ (Conflict of Interest)
4. ความเสี่ยงอันเกิดจากการจัดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับ
คณะกรรมการชุดต่าง ๆ
5. ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการระบุความรับผิดรับชอบ
(Accountability) ของคณะกรรมการฯ ในกรณีที่เกิดความ
ผิดพลาด
6. ความเสี่ยงอันเกิดจากการกำหนดกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ใช้เป็น
เกณฑ์เปรียบเทียบประสิทธิผลยาและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
ที่มา: คณะผู้วิจัย
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า