Page 336 - kpiebook65064
P. 336
286 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
พิจารณากำหนดราคากลาง คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ โดยต้องจัดซื้อไม่เกินตาม
ราคากลางที่กำหนด ทำให้บางฝ่ายมองว่าการกำหนดเช่นนี้บั่นทอนการแข่งขันของอุตสาหกรรมยา
ภายในประเทศที่ต้องแข่งขันกันด้านราคามากกว่าด้านคุณภาพ ส่งผลต่อคุณภาพของยาที่ผลิต
ในประเทศ แม้ว่าการกำหนดราคากลางจะพิจารณาจากปัจจัยหลายด้านที่มากกว่า ด้านราคาแต่ยังมี
99
ข้อโต้แย้งถึงความเหมาะสมของการได้มาซึ่งราคากลาง ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า “คราวนี้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็พยายามทำ Green Book ที่จะบอกว่าบริษัททำอย่างไรให้อยู่ใน
มาตรฐาน อาจารย์ก็เห็นใจบริษัทภายในประเทศ เพราะเปิดประมูลแล้วจะแข่งเอาราคาต่ำสุดเป็น
หลัก ไม่ได้สนใจคุณภาพ ถูกกว่ากล้วยปิ้งอีก ช่วงหลังเขาบอกต้องยอมขาดทุน เพื่อไม่ให้คนงาน
ไม่มีงานทำ คือขายปลีกมันไม่ได้ โฆษณามันไม่พอ ดังนั้นเราจะดูด้วยว่าจะทำให้อุตสาหกรรม
ที่คุณภาพดียังคงอยู่ได้อย่างไร…..” 100
นอกจากนี้ แม้มีการจัดซื้อยาไม่เกินกว่าราคากลางที่กำหนดแต่อาจมีข้อท้วงติง
จากสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ชี้แจงเหตุผล ทำให้บางสถานพยาบาล
จึงหลีกเลี่ยงในการชี้แจงโดยเลือกซื้อยาในราคาต่ำสุดแทนที่จะพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่าง
รอบด้าน ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านตั้งข้อสังเกตว่า สตง. ทำให้การพิจารณาจัดซื้อยาเน้นความประหยัด
มากกว่าการกำหนดเงื่อนไขด้านคุณภาพ “การจัดซื้อใช้หลักเกณฑ์เรื่องราคากลางมีข้อที่ทำให้
ผู้จัดซื้อกังวล ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่กล้าทำ กังวลว่าจะถูก สตง. มาตรวจสอบ ต้องหาซื้อที่
ถูกลงๆ อีกอย่างเรื่องคุณภาพยา ตอนนี้ยาต้องปรับมาตรฐานการผลิตเสร็จแล้วไปเจอปัญหาว่าการ
กำหนดราคากลาง หรือการขายของบริษัทที่ยังไม่ปรับมาตรฐานตรงนั้นมันต่างกัน...... ถ้าตั้งสเปค
ล็อกเกินไปสำหรับเจ้าเดียว ก็เป็นการล็อกสเปค ก็ไม่ถูกอีก สเปคก็ต้องมีเรื่องราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง
แหละไม่ได้เปลี่ยนระบบหรือระเบียบ แต่ต้องเปลี่ยน mindset ทุกคนต้องยืนอยู่บนหลักการว่า
ซื้อของแล้วมาต้องเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ซื้อ ต้องถามตัวเองว่าผู้ซื้อต้องการอะไร ซื้อทำไม
เพราะอะไร” 101
2) การกำหนดสัดส่วนการซื้อยาสามัญและจำนวนบัญชียาของสถานพยาบาล
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 60 กำหนดให้ การซื้อยาของส่วนราชการ ให้จัดซื้อตาม
ชื่อสามัญตามบัญชียาหลักแห่งชาติตามวงเงินงบประมาณที่กำหนด ส่วนแนวทางการพัฒนา
ประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 ได้กำหนดจำนวนบัญชียา
ของสถานพยาบาลและสัดส่วนของบัญชียาหลักแห่งชาติที่ส่วนใหญ่เป็นยาสามัญในบัญชีรายการยา
ของสถานพยาบาล บางฝ่ายโต้แย้งว่าเป็นการจำกัดการใช้ยาใหม่ของแพทย์ โดยเฉพาะ
สถานพยาบาลขั้นสูงที่ทำการรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาลศูนย์กำหนดสัดส่วนให้มียาใน
บัญชียาหลักแห่งชาติร้อยละ 70 ของบัญชีรายการยาของสถานพยาบาล ทำให้แพทย์เฉพาะทาง
มีข้อจำกัดต่อการใช้ยาที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักหรือไม่ได้เป็นยาสามัญในการรักษา
99 โปรดดูในข้อ 7.4.5
100 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ H, วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
101 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ N, วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 และสัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P, วันที่ 7
พฤษภาคม พ.ศ. 2557
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า