Page 333 - kpiebook65064
P. 333
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 283
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
เภสัชกรรมและการบำบัดไม่เข้มแข็ง ผู้อำนวยการสถานพยาบาลสามารถผูกขาดอำนาจการ
ตัดสินใจได้มาก หรือการคัดเลือกและจัดซื้อยาเป็นเพียงการตกลงกันระหว่างแพทย์ผู้ใช้ยากับ
เภสัชกรของสถานพยาบาลนั้น ๆ หรือสถานพยาบาลบางแห่งการประชุมของคณะกรรมการ
เภสัชกรรมและการบำบัดมีการประชุมไม่บ่อยและไม่มีความชัดเจนนัก 89
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่าการแก้ปัญหาในสถานพยาบาลโดย
กระทรวงสาธารณสุขยังไม่เพียงพอ เพราะเป็นระบบยามีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากที่นอกเหนืออำนาจ
ของกระทรวงฯ เช่น การเรียนการสอนของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานศึกษาเป็นต้น 90
ความเสี่ยงการควบคุมจริยธรรมและการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดซื้อยาภายในสถาน
พยาบาล มักปรากฏหลักฐานในรูปของปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับยาภายในสถานพยาบาล อาทิ
กรณีการลักลอบนำยาแก้หวัดสูตรที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบออกจากระบบของโรง
พยาบาลของรัฐเพื่อส่งให้ขบวนการค้ายาเสพติดนำไปสกัดเป็นสารตั้งต้นยาเสพติด
ประเภทยาบ้าและยาไอซ์ ใน พ.ศ. 2555 ได้มีการเปิดเผยผลสอบความผิดทางวินัยข้าราชการของ
กระทรวงสาธารณสุข โดยทางกระทรวงสาธารณะสุขได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบข้อเท็จจริงความ
ผิดปกติในการสั่งซื้อและการหายไปของซูโดอีเฟดรีนจากระบบโรงพยาบาลรัฐ ผลสอบพบความผิด
ปกติเกิดขึ้นในโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย 1) รพ.อุดรธานี จ.อุดรธานี
2) รพ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ 3) รพ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู 4) รพ.เสริมงาม จ.ลำปาง
5) รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ 6) รพ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 7) รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์
8) รพ.ฮอด จ.เชียงใหม่ และ 9) รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
เหตุที่ยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมเกิดปัญหา เนื่องจากตรวจพบว่ามีการกระทำผิด
ด้วยการนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศกระทรวงฯ เรื่อง
ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 40 ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 กำหนดให้ยาสูตรผสมที่มี
ซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล และน้ำ ยกเว้นสูตรผสมที่มีพาราเซตามอล
เป็นส่วนประกอบ เป็นยาควบคุมพิเศษ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ส่งผล
ให้ยาสูตรดังกล่าวจำหน่ายได้เฉพาะสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
เท่านั้น โดยมีการควบคุมปริมาณการจำหน่ายให้สถานพยาบาลของเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้
ค้างคืนไม่เกิน 5,000 เม็ดต่อแห่งต่อเดือน ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิต 67 ราย เป็นยาสูตรผสม
29 สูตร เป็นตำรับยาน้ำ 98 ตำรับ ยาเม็ดและแคปซูล 142 ตำรับ 91
อนึ่ง ปัญหาทางจริยธรรมของบุคลากรทางการแพทย์ด้านหนึ่งเกิดจากการสั่งใช้ยาของ
บุคลากรทางการแพทย์ที่นำไปสู่การใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล จนเปิดช่องให้เกิดการทุจริต พบว่า
บางโรงพยาบาลแพทย์มีพฤติกรรมสั่งยาให้ตัวเองสัปดาห์ละประมาณ 2-3 หมื่นบาท มีการให้ยา
89 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ D, วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
90 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ E, วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
91 เดลินิวส์. (19 มีนาคม 2556). จ่อปิดคดีขนซูโออิเฟดรีนออกจาก รพ. สธ.เล่นงานวินัย – ดีเอสไอลุยฟันอาญา!
[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2556 จาก http://www.dailynews.co.th/article/5832/191408
บทที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า