Page 334 - kpiebook65064
P. 334

284           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                   เกินความจำเป็นในรายที่ผู้ป่วยไม่ค่อยได้มาใช้สิทธิที่สถานพยาบาล หรือการนำเวชระเบียนของ

                   ผู้ป่วยมาเบิกยาโดยผู้ป่วยไม่ทราบเรื่อง รวมถึงยังพบพฤติกรรมการบันทึกข้อมูลจำนวนยาสูงกว่าที่
                   แพทย์สั่งจ่าย เช่น หมอสั่งจ่ายยาจำนวน 300 เม็ด แต่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลจ่ายยา 1,000 เม็ด

                   เป็นต้น รวมถึงเกิดกรณีที่แพทย์สั่งจ่ายยาเกินความจำเป็นให้แก่ผู้ป่วย และสั่งจ่ายยาที่ไม่เกี่ยวข้อง
                   กับโรคที่วินิจฉัย เช่น ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคเข่าเสื่อม แพทย์ก็สั่งจ่ายยารักษาโรคเข่าเสื่อม
                   ในขณะเดียวกันแพทย์สั่งจ่ายน้ำตาเทียมไปด้วย โดยแพทย์บางรายมีเป้าหมายจ่ายยาเพื่อทำยอดให้

                   กับบริษัทยาแลกกับผลประโยชน์ด้านอื่นหรือแพทย์บางรายสั่งจ่ายยาให้ตนเองและบุคคลใน
                   ครอบครัวด้วยตัวยาเดียวกัน โดยไม่มีการวินิจฉัยโรคและพบว่าแพทย์ผู้นั้นมีคลินิกส่วนตัว หรือ

                   แพทย์สั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติซึ่งเป็นยาที่มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับราคายาในบัญชี
                   ยาหลักแห่งชาติ นอกจากนี้บางโรงพยาบาลที่มีการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในได้ โดยใช้วิธี
                   การกำหนดเพดานงบประมาณและจัดสรรตามหลักเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ซึ่งระบบ

                   DRG เมื่อแพทย์วินิจฉัยโรคแล้วจะต้องให้รหัสโรค เพื่อคำนวณน้ำหนักโรค ซึ่งกรมบัญชีกลางจะจ่าย
                   เงินให้ตรงพยาบาลตามน้ำหนักของโรคเป็นการเหมา แต่พบว่าโค้ดหรือรหัสลงน้ำหนักโรคไม่ตรงตาม

                   ความจริง ทำให้กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้โรงพยาบาลสูงกว่าความเป็นจริง เป็นต้น 92

                              อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าการสั่งใช้ยาของแพทย์ใดเป็นการผิดจริยธรรมและ
                   เป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผลก็ตรวจสอบได้ยากและเกิดข้อโต้เถียงได้ว่าอะไรคือการสั่งใช้ยาที่ไม่
                   สมเหตุสมผล แม้เบื้องต้นอาจพิจารณาตามแนวทางปฏิบัติ (Guideline) การใช้ยาของหน่วยงานที่มี

                   ความน่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์
                   รูปแบบการรักษาของแพทย์อาจแตกต่างกันตามความชำนาญเฉพาะทางของแพทย์  ในหลายกรณี
                                                                                            93
                   การนิยามว่าการใช้ยาในลักษณะใดไม่สมเหตุสมผลอาจชี้ชัดได้ยาก ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านมีความ
                   กังวลว่าอะไรคือเกณฑ์ที่เหมาะสมในการตัดสิน “.....นอกจากข้อบ่งชี้ก็มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้
                   และมีความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน อันนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ มีราคาเหมาะสม

                   อันนี้ยากแล้ว คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ก็ต้องถามกลับว่าของใครละ เพราะแต่ละคนก็
                   ไม่เหมือนกัน ใช้ยาในขนาดที่พอเหมะ อันนี้แน่นอน วิธีการและความถี่ อันนี้แพทย์ต้องรู้อยู่แล้ว

                   ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และผู้ป่วยยอมรับ จะเขียนยังไงอะ มันกว้างมาก” 94















                         92  โพสต์ทูเดย์. (30 มิถุนายน 2553). ชำแหละเครือข่ายทุจริตยา [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
                   2556 จาก http://www.cueid.org/content/view/3757/71/
                         93  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ L,วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 และผู้ให้สัมภาษณ์ M, วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.
                   2556
                         94  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P, วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557



                   บทที่ 7
                   สถาบันพระปกเกล้า
   329   330   331   332   333   334   335   336   337   338   339