Page 66 - kpiebook65064
P. 66
16 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
อย่างไรก็ตาม การอาศัยแนวคิดระบบอภิบาลเพื่อพิจารณาระบบอภิบาลยาเพียง
อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เนื่องจากแนวคิดนี้จะพิจารณาถึงสภาพการณ์ของระบบอภิบาลยา
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยจะพิจารณาโดยอาศัยมุมมองระบบ
อภิบาลในมิติ “ธรรมาภิบาล” เพิ่มเติม เพื่อมุ่งพัฒนาระบบอภิบาลยาที่นำไปสู่การเสริมสร้าง
“ธรรมาภิบาล” หรือ “ระบบอภิบาลที่ดี” อีกด้วย
2.1.3 แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล (Good Governance)
แนวคิดธรรมาภิบาล (Good Governance) มีที่มาจากกระแสปฏิรูปการบริหารงาน
ภาครัฐในทศวรรษที่ 1980 ธนาคารโลก (World Bank) กำหนดให้แนวคิดธรรมาภิบาลเป็น
นโยบายสำคัญในการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐของประเทศโลกที่สาม เพราะมองว่าบ่อเกิดของ
8
การจัดการปกครองที่ไม่ดี (Bad Governance) เป็นสาเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่ม
ประเทศโลกที่สาม ธนาคารโลกในฐานะผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินรายสำคัญของประเทศ
โลกที่สามจึงเรียกร้องมาตรฐานความโปร่งใส (Transparency) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ
9
การยอมรับผิด (accountability) ต่อประเทศผู้กู้มากขึ้น ในรายงานของธนาคารโลกเรื่อง “Sub-
Saraha: From Crisis to Sustainable Growth” ค.ศ.1989 ให้ความหมายของ Good Governance
ว่าเป็นลักษณะและวิถีทางการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อจัดการงานของบ้านเมือง ภายใต้ฐานคิด
ที่ว่าปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจและความยากจนของประเทศกำลังพัฒนาที่เกิดจากปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นและความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงานรัฐ นอกจากนี้ คำว่า Good Governance
ยังเกี่ยวพันกับแนวคิดประชาธิปไตย (Democracy) และประชาสังคม (Civil Society) อีกด้วย
กล่าวได้ว่า แนวคิดธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับการปฏิรูปองค์กรของรัฐ
ทุกประเภท โดยเน้นบทบาทของผู้บริหารในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ มีการตรวจสอบ
สามารถประเมินผลงานได้ชัดเจน และมีการแข่งขันเพื่อการบริการที่ดีขึ้น 10
£ คำนิยามและองค์ประกอบของธรรมาภิบาล 11
ปัจจุบันมีผู้ให้คำนิยามและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลจำนวนมากและ
แตกต่างกันตามเป้าหมายของการพัฒนาธรรมาภิบาลทั้งในเชิงกรอบ เป้าหมาย วัตถุประสงค์
12
แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติ อาทิ
8 Rhodes, R.A.W. (2000) “Governance and public administration.” In Jon Pierre (Ed.), Debating
governance: Authority, steering and democracy. p. 57.
9 Kjaer, A. M. (2004). Governance. p. 172.
10 Agere, S. “Promoting Good Governance: Principles, Practices and Perspective. London: Commonwealth
Secretariat.” อ้างถึงใน บุษกร ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2550). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. น. 5.
11 การทบทวนคำนิยามและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลคณะผู้วิจัยยึดตามคำจำกัดความตามที่งานแต่ละชิ้นได้กำหนด
ไว้ ดังนั้นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันจึงอาจมีการใช้คำจำกัดความแตกต่างกันเช่น Rule of Law มีการแปลเป็นภาษาไทย
ทั้งคำว่า “นิติรัฐ” และ “นิติธรรม”
12 บุษกร ชัยเจริญวัฒนะและบุญมี ลี้. (2550). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. อ้างแล้ว, น. 5-6, 10.
บทที่ 2
สถาบันพระปกเกล้า