Page 65 - kpiebook65064
P. 65
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 15
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
อาจถ่ายโอนให้กับองค์กรเหนือชาติ (Supranational Organizations) หรือองค์กรภาคประชาสังคม
(Civil-society Organization) เริ่มมีบทบาทในการจัดทำบริการสาธารณะ มีตัวแสดงและองค์การ
เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาเป้าหมายร่วมกันมากขึ้นและปฏิเสธการแยกความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระหว่างรัฐ (Public) และเอกชน (Private) ดังนั้น ระบบอภิบาลของการศึกษาการบริหารภาครัฐ
และนโยบายสาธารณะจึงมักมุ่งหาหนทางเพื่อวางทิศทางการจัดองค์การด้วยตนเองและให้ความ
6
สำคัญกับเครือข่ายระหว่างองค์การ ซึ่งทิศทางการบริหารภาครัฐและนโยบายสาธารณะตาม
แนวคิดระบบอภิบาล เห็นว่าในปัจจุบันในกระบวนการกำหนดนโยบายและการบริหารเรื่องใด ๆ
ก็ตามมีตัวแสดงที่หลากหลายทั้งของภาครัฐและนอกภาครัฐจำนวนมาก มีความยึดหยุ่น และ
เป็นอิสระเพิ่มขึ้น ทำให้การพิจารณาระบบการบริหารแบบดั้งเดิมที่ตายตัวและขาดพลวัตร
อาจไม่เพียงพออีกต่อไป ซึ่งสภาพการณ์ของระบบอภิบาลที่เกี่ยวกับยาก็เป็นระบบและนโยบายที่มี
ความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับตัวแสดงที่หลากหลายทั้งของภาครัฐและเอกชนเช่นเดียวกัน
จากสภาพข้างต้น ทำให้เราต้องพิจารณาถึงสภาพระบบอภิบาลของการบริหารภาค
รัฐและนโยบายสาธารณะที่ยืดหยุ่นมากขึ้น R.A.W. Rhodes (2000) เห็นว่าระบบอภิบาล
มีองค์ประกอบสำคัญในเจ็ดด้าน คือ 1) ระบบอภิบาลในฐานะบรรษัทภิบาล (Governance as
Corporate Governance) 2) ระบบอภิบาลในฐานะการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (Governance as
the New Public Management) 3) ระบบอภิบาลในฐานะ “ธรรมาภิบาล” (Governance as
“good governance”) 4) ระบบอภิบาลในฐานะการพึ่งพาอาศัยต่อกันระหว่างชาติ (Governance
as international interdependence) 5) ระบบอภิบาลในฐานะระบบสังคมไซเบอร์เนติค
(Governance as a Socio-Cybernetic System) 6) ระบบอภิบาลในฐานะเศรษฐกิจการเมืองใหม่
(Governance as the New Political Economy) และ 7) ระบบอภิบาลในฐานะเครือข่าย
(Governance as Networks) ซึ่งความหมายดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ของระบบ
7
อภิบาล
เหตุที่แนวคิดระบบอภิบาลมีความสำคัญในการศึกษานี้ เนื่องจากสภาพการณ์
และคุณลักษณะของการบริหารจัดการยาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมิได้เป็นการจัดการโดยภาครัฐฝ่าย
เดียวแต่มีตัวแสดงทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เป็นอิสระเข้ามามีส่วนร่วมเป็น
จำนวนมากภายในการบริหารจัดการยา นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาเฉพาะหน่วยงานงานภาครัฐ
จะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแต่ละแห่งหลายครั้งค่อนข้างมีความเป็นอิสระออกจากกันทั้ง
ในแง่ของกฎหมายระเบียบ กับแนวทางปฏิบัติงาน ดังนั้น การบริหารจัดการยาจึงไม่สามารถอาศัย
โครงสร้างและกลไกที่ตายตัวของรัฐได้เสมอไป แต่ต้องพิจารณาถึงความหลากหลายและความเป็น
อิสระของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความซับซ้อนของการบริหารจัดการยาที่มีความแตกต่างกันใน
แต่ละประเด็น ดังนั้น การใช้แนวคิดระบบอภิบาลเพื่อช่วยทำความเข้าใจสภาพการบริหารจัดการ
สถานการณ์หรือประเด็นปัญหาหนึ่ง ๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของระบบอภิบาลยาจึงสำคัญ
6 Kjaer, A. M. (2004). Governance. p. 4.
7 Rhodes, R.A.W. (2000) “Governance and public administration.” In Jon Pierre (Ed.), Debating
governance: Authority, steering and democracy. p. 55-60.
บทที่ 2
สถาบันพระปกเกล้า