Page 69 - kpiebook65064
P. 69

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ    19
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                                    บริการพลเรือน และระดับความเป็นอิสระจากกลุ่มกดดันทางการเมือง

                                                    คุณภาพของการก่อร่างนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ
                                                    ความน่าเชื่อถือต่อฉันทานุมัติของรัฐบาลต่อแต่ละนโยบาย

                                                4) การควบคุมคุณภาพ (Regulatory Quality-RQ) โดยศึกษาการรับรู้

                                                    ถึงความสามารถของรัฐบาลในการก่อร่างและดำเนินการตามข้อเรียกร้อง
                                                    ทางนโยบายและการกำกับดูแลที่เปิดโอกาสและยกระดับการพัฒนา
                                                    ของภาคเอกชน

                                                5) นิติรัฐ (Rule of Law-RL) โดยศึกษาการรับรู้ของขอบเขตต่อ

                                                    พนักงานของรัฐว่ามีความมั่นใจและยอมปฏิบัติตามกฎของสังคม
                                                    โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพของการบังคับใช้สัญญา สิทธิในทรัพย์สิน

                                                    สถาบันตำรวจและศาล และความเป็นไปได้ของการเกิดอาชญากรรม
                                                    และความรุนแรง

                                                6) การควบคุมการทุจริต (Control of Corruption-CC) โดยศึกษา

                                                    การรับรู้ของขอบเขตของอำนาจสาธารณะที่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
                                                    ตัวอย่างเช่น รูปแบบการทุจริตในระดับที่เล็กน้อยจนถึงระดับใหญ่ และ
                                                    การจับตาของรัฐด้านชนชั้นนำและผลประโยชน์ส่วนตัว 16


                                          
  3. ธรรมาภิบาลของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United
                           Nations Development Program-UNDP)

                                            สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้นิยามธรรมาภิบาลว่า หมายถึง
                           การดำเนินงานของภาคการเมือง การบริหาร และภาคเศรษฐกิจที่จะจัดการกิจการของประเทศ

                           ในทุกระดับ ประกอบด้วยกลไก กระบวนการ และสถาบันต่าง ๆ ที่ประชาชนและกลุ่มสามารถ
                           แสดงออกซึ่งผลประโยชน์ปกป้องสิทธิของตนเองตามกฎหมาย และแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน

                           บนหลักการของการมีส่วนร่วม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การส่งเสริมหลักนิติธรรม เพื่อให้
                           มั่นใจว่าการจัดลำดับความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ยืนอยู่บนความเห็นพ้องต้องกัน
                           ทางสังคม และเสียงของคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับการพิจารณาในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อ

                           การพัฒนา 17

                                           สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเสนอองค์ประกอบธรรมาภิบาล
                           ไว้ 9 ประการ คือ

                                                 1) การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) ประชาชน

                                                    ทั้งชายและหญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน




                                 16  Ibrd, p. 4.
                                 17  คัดลอกโดยไม่ตัดทอนจากบุษกร ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2550). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. อ้างแล้ว, น. 6.



                                                                                                             บทที่ 2
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74