Page 72 - kpiebook65064
P. 72

22           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                         3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของ

                                            คนในชาติโดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความ
                                            โปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา

                                            ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมี
                                            กระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

                                         4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม
                                            รับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ

                                            ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์
                                            การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

                                         5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึก

                                            ในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง
                                            และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็น
                                            ที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน


                                         6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด
                                            เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความ
                                            ประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่าสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

                                            สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
                                            ให้สมบูรณ์ยั่งยืน 20

                                  5. หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของสำนักงานของ

                   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

                                    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้จัดทำคู่มือการจัดระดับ
                   การกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good

                   Governance Rating)มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ใช้ประเมินหน่วยงานภาครัฐและจัดระดับการกำกับ
                   ดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2) ส่งเสริมให้
                   หน่วยงานภาครัฐนำเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการยกระดับการกำกับดูแลองค์การตามหลัก

                   ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3) เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการกำกับ
                   ดูแลองค์การตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน และ 4) เพื่อ

                   ยกย่องชมเชยหน่วยงานภาครัฐที่ประสบความสำเร็จในการกำกับดูแลองค์การตามหลักธรรมาภิบาล
                                                 21
                   ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  โดยได้กำหนดความหมายและความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล
                   ไว้ 10 องค์ประกอบ คือ



                         20  อ้างแล้ว, น. 26-27.
                         21  วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา สุทธปรีดา และคณะ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ
                   ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). น. 2.




                   บทที่ 2
                   สถาบันพระปกเกล้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77