Page 74 - kpiebook65064
P. 74

24           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                            กระบวนการตัดสินใจและร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วน

                                            การพัฒนา

                                         7) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) การถ่ายโอนอำนาจการ
                                            ตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจาก ส่วนราชการส่วนกลางให้แก่

                                            หน่วยการปกครองอื่น (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาค
                                            ประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควรรวมถึง การมอบ
                                            อำนาจ และความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดำเนิน การให้แก่

                                            บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับ
                                            บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิต

                                            ภาพเพื่อผล การดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

                                         8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) การใช้อำนาจของ กฎหมาย
                                            กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม
                                            ไม่เลือกปฏิบัติและคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


                                         9) หลักความเสมอภาค (Equity) การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการ
                                            อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชาย/หญิง ถิ่นกำเนิด
                                            เชื้อชาติภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือ สุขภาพ

                                            สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมความเชื่อทางศาสนา
                                            การศึกษา การฝึกอบรมและอื่น ๆ

                                        10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) การหาข้อตกลงทั่วไป

                                            ภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการ
                                            ใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ

                                            เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต้องไม่มีข้อ
                                            คัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดยฉันทามติไม่จำเป็นต้อง
                                            หมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์  22

                                  6. ธรรมาภิบาลของ Mark Bevir (2009)

                                     ส่วน Mark Bevir (2009) มองว่าแม้แนวคิดธรรมาภิบาลยังไม่อาจหา

                                                                      23
                   ข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายและองค์ประกอบที่ชัดเจน  แต่โดยรวมแล้วแนวคิดธรรมาภิบาล
                   จะพิจารณาถึงสภาพการณทางสังคมและการเมืองในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ 1) ความ

                   เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วมตัดสินใจ (equality of participation in decision-making)
                   2) การตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (responsiveness to stakeholders) 3) ความพยายาม
                   ในการรักษาฉันทามติในวงกว้าง (attempts to secure a broad consensus) 4) การรับผิดชอบ



                         22  อ้างแล้ว, น. 8-9.
                         23  Bervia, M. (2009). Key Concepts in Governance. p. 92.



                   บทที่ 2
                   สถาบันพระปกเกล้า
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79