Page 78 - kpiebook65064
P. 78
28 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
2.2 แนวความคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในระบบอภิบาลยา
ขององค์การอนามัยโลก
เนื่องจากธรรมาภิบาลเป็นปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
ที่ยั่งยืนในทุกระดับและทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งปัญหาการสูญญากาศทางสังคมและเศรษฐกิจ
การทุจริต และความรุนแรงย่อมเป็นบทพิสูจน์ถึงการขาดธรรมาภิบาลที่บ่งบอกถึงความล้มเหลวของ
ระบบอภิบาล WHO เห็นว่าระบบอภิบาล (Governance) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร
และความสัมพันธ์ของสังคมเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของสมาชิกในสังคม ส่วนธรรมาภิบาล (Good
Governance) เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อเน้นย้ำความจำเป็นของระบบอภิบาลในการปฏิบัติงานให้
เป็นไปตามหลักนิติรัฐและมีแบบแผนปฏิบัติที่ปราศจากการทุจริต ซึ่งคุณลักษณะของธรรมาภิบาล
ประกอบด้วยการมีส่วนร่วม การมีฉันทานุมัติ การพร้อมรับผิด ความโปร่งใส การตอบสนอง
ประสิทธิผลกับประสิทธิภาพ ความเท่าเทียมกับความครอบคลุม และการปฏิบัติตามกฎหมาย
ถ้าปราศจากการมีธรรมาภิบาลแล้วย่อมหมายความว่าระบบอภิบาลและนโยบายสาธารณะที่ดีย่อม
ถูกบ่อนทำลายด้วยการทุจริต
ดังนั้น เพื่อป้องกันการทุจริตในระบบอภิบาลยา (pharmaceutical system) ทาง WHO จึงได้
ออกแบบโครงการธรรมาภิบาลด้านยา (Good Governance for Medicines - GGM) ที่มีเป้าหมาย
ในการลดการทุจริตในระบบอภิบาลยาผ่านการประยุกต์ใช้แนวคิดความโปร่งใส การมีกระบวนการ
บริหารที่มีความพร้อมรับผิด และการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม โดย
GGM ได้มีขั้นตอนการปฏิบัติอยู่สามขั้นตอนได้แก่ 1). การประเมินระดับความโปร่งใสในระดับชาติ
(จัดทำรายงานการประเมิน) 2). การพัฒนากรอบธรรมาภิบาลด้านยาระดับชาติ (จัดทำโครงการ
ธรรมาภิบาลด้านยาฉบับทางการ) และ 3). การปฏิบัติตามโครงการธรรมาภิบาลยาระดับชาติ
(จัดทำกลยุทธ์ธรรมาภิบาลยาระดับชาติ)โดย WHO ได้จัดทำกรอบด้านธรรมาภิบาลในระบบยา:
ตัวแบบโครงการธรรมาภิบาลด้านยา (A Framework for Good Governance in the
Pharmaceutical Sector – GGM Model Framework) เพื่อเป็นแนวทางทั่วไปในการพิจารณา
เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในระบบอภิบาลยา 25
25 WHO. (2009). A Framework for Good Governance in the Pharmaceutical Sector – GGM Model
Framework. p. 1-2.
บทที่ 2
สถาบันพระปกเกล้า