Page 82 - kpiebook65064
P. 82

32           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                            (3) องค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและหน้าที่ขององค์กร (Official organizational

                   chart: Organigram)

                                การกำกับดูแลในระดับชาติ จะต้องมีองค์กรที่มีการแบ่งหน้าที่ขององค์กรอย่าง
                   ชัดเจนว่า หน่วยงานหรือส่วนงานไหนทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องใดอย่างชัดเจนที่ช่วยให้ระบบการ

                   กำกับดูแลยามีความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การมีการจัดการองค์กรที่เป็นระบบชัดเจน
                   จะช่วยให้การจัดการและการติดต่อประสานงานกับภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคมมีความสะดวกและ
                   รวดเร็วเพิ่มขึ้นด้วย

                            (4) คู่มือ/กรอบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ (Quality management manual:

                   framework)

                                รัฐ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการกำกับดูแลยา จำเป็นต้องพัฒนากรอบ
                   การบริหารจัดการที่มีคุณภาพขึ้นมา โดยกรอบดังกล่าวต้องมีการระบุวิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ

                   (mission) และเป้าหมาย (objectives) อย่างชัดเจน ทั้งนี้กรอบดังกล่าวต้องสอดคล้องกับการ
                   บริการการกำกับดูแลยาที่มีคุณภาพในมิติต่าง ๆ เช่น หน้าที่รับผิดชอบ นโยบาย กระบวนการ

                   มาตรฐาน และทรัพยากร เป็นต้น

                                นอกจากนี้ คู่มือดังกล่าวควรระบุหลักในการปฏิบัติเป็นวันต่อวัน เช่น ควรปฏิบัติ
                   ต่อผู้มาขอใช้บริการ กระบวนการในการดำเนินงานประจำวัน การบริหารจัดการที่เป็นระบบ

                   การตัดสินใจที่มีข้อมูลสนับสนุน เป็นต้น
                            (5) การมีเจ้าที่หน้าที่ที่มีคุณภาพ (Qualified and trained staff)


                                การกำกับดูแลระบบอภิบาลยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ที่หลากหลาย
                   โยงใยกันในหลายมิติ เช่น นโยบาย กฎหมาย วิทยาศาสตร์ และความรู้ในเชิงเทคนิคต่าง ๆ งาน
                   กำกับดูแลจึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญการ และได้รับการฝึกฝนมาเป็นการเฉพาะ


                              ในอีกด้าน ควรกำหนดค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานในด้านนี้อย่าง
                   “เหมาะสม” และ “เป็นธรรม” กับความรู้ความสามารถของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                   เมื่อพิจารณาว่า การกำกับดูแลระบบอภิบาลยาเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และ

                   ผลประโยชน์ทางการค้าเป็นจำนวนมาก การมีจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ และกลไกอื่น ๆ ที่จะ
                   ช่วยป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น

                            (6) เครื่องมือ (Tools)

                                ในทางปฏิบัติ การกำกับดูแลจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการดำเนินงาน

                   โดยการสร้างมาตรฐานการดำเนินงานสำหรับการกำกับดูแลตลอดทั้งกระบวนการเป็นเรื่องสำคัญ
                   การสร้างเครื่องมือควรที่จะสร้างบนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้

                   ส่วนเสียทุก ๆ ฝ่าย และเครื่องมือต้องถูกใช้อย่างเท่าเทียมกัน และไม่มีการเลือกปฏิบัติ







                   บทที่ 2
                   สถาบันพระปกเกล้า
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87