Page 83 - kpiebook65064
P. 83

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ    33
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                       นอกจากนี้ การมีเครื่องมือที่ดีจะช่วยให้การกำกับดูแลยามีความโปร่งใสมากขึ้น

                           อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดในการตัดสินใจอีกด้วย

                                   (7) ระบบการร้องเรียนและอุทธรณ์ (Appeal and complaint system)

                                       ผู้มีอำนาจควรสร้างระบบการอุทธรณ์และกลไกการร้องเรียนให้กับสาธารณะ โดยที่
                           ระบบการอุทธรณ์และการร้องเรียนควรมีทั้งในรูปแบบของระบบการบริหารจัดการโดยทั่วไป

                           (Administrative appeals system) และในทางกฎหมาย (legal appeals system) ทั้งนี้ เพื่อ
                           เป็นการรับประกันว่า กระบวนการตัดสินใจต่าง ๆ ในระบบการกำกับดูแลยา จะเป็นไปตามหลัก
                           นิติรัฐและความเป็นธรรม


                                       หลักการสำคัญของการมีระบบอุทธรณ์และกลไกการร้องเรียนอยู่บนพื้นฐานที่ว่า
                           การกำกับดูแลระบบอภิบาลยาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกทางสังคม ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเปิด
                           โอกาสให้สังคมได้ร่วมตรวจสอบด้วย การสร้างระบบร้องเรียนสาธารณะ (public complaints

                           system) ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความโปร่งใสในการกำกับดูแลระบบอภิบาลยา

                                   (8) การสื่อสารสองทาง (A two-way communication system)

                                       ระบบการกำกับดูแลที่ดีควรมีการสื่อสารสองทาง คือ การสื่อสารในแนวดิ่ง และ
                           การสื่อสารในแนวราบ ทั้งนี้ เพื่อรับประกันความโปร่งใสในหมู่ผู้มีอำนาจด้วยกันเอง

                                       ผู้มีอำนาจควรสร้างช่องทางการสื่อสารกับสาธารณะเป็นประจำ นอกจากนี้

                           การตัดสินใจและการประชุมใด ๆ จะต้องเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นที่เปิดเผยสาธารณะ เนื่องจากผู้มี
                           อำนาจในระบบการกำกับดูแลยาทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องประโยชน์สาธารณะ ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องมี

                           ความโปร่งใสต่อผู้ผลิตยาและผู้บริโภคยา

                                   (9) ระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Audit, monitoring and
                           evaluation system)

                                       รัฐและผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลยา ควรสร้างระบบการตรวจสอบและการ

                           ประเมินผลภายในขึ้นมา เพื่อรับประกันว่า การดำเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
                           ในอีกด้านหนึ่ง การมีระบบติดตามประเมินผลจะช่วยทำให้ทราบว่า การทำงานในภาพรวม จุดอ่อน

                           และจุดแข็งของระบบการกำกับดูแลยาเป็นอย่างไร

                                  2.2.2 แนวทางการการประเมินและการวัดระดับความโปร่งใสในระบบอภิบาลยา              27


                                       แนวทาง การวัดความโปร่งใส่ในระบบอภิบาลยา (Measuring Transparency
                           in the Public Pharmaceutical Sector – Assessment Instrument) ถูกออกแบบมาเพื่อ

                           วัดระดับความโปร่งใสและความเสี่ยงของการคอรัปชั่น (Level of transparency and vulnerability
                           to corruption) ในระบบอภิบาลยา มีเป้าหมายเพื่อให้ตรวจสอบและสร้างการรับรู้ให้กับ



                                27  Ibrd, p. 7-8.



                                                                                                             บทที่ 2
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88