Page 85 - kpiebook65064
P. 85

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ    35
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                       โดยการศึกษาครั้งนี้จะนำวิธีและแนวทางในการประเมินความโปร่งใส พร้อมตัวชี้วัด

                           ต่าง ๆ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกมาประยุกต์ใช้ในการประเมินระดับธรรมาภิบาลใน
                           ระบบอภิบาลยาของประเทศไทยต่อไป

                                2.2.3   การประเมินและการวัดระดับความโปร่งใสในระบบอภิบาลยาขององค์การ

                           อนามัยโลกตามรายประเทศ: กรณีการประเมินความโปร่งใสในประเทศไทย


                                       จาก การวัดความโปร่งใส่ในระบบอภิบาลยา (Measuring Transparency in

                           the Public Pharmaceutical Sector – Assessment Instrument) พบว่า ปัจจุบันเกณฑ์
                           การวัดความโปร่งใสได้ถูกนำไปใช้ในการประเมินในหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา และ
                                       29
                           ซีเรีย เป็นต้น  โดยมีการประยุกต์สร้างตัวชี้วัด เพื่อใช้ในการสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบ
                           อภิบาลยาที่สอดคล้องกับบริบทแต่ละประเทศ

                                       โดยในกรณีของประเทศไทยได้นำเกณฑ์นี้มาใช้ประเมินระบบอภิบาลยาในรายงาน
                           การประเมินความโปร่งใสในระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยา และการจัดซื้อยา:
                           กรณีศึกษาการประเมินในสี่ประเทศ (Measuring Transparency in Medicines

                           Registration, Selection and Procurement: Four country assessment studies) ประเมิน
                           ความโปร่งใสของระบบอภิบาลยาเปรียบเทียบในสี่ประเทศ คือ ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

                           ในช่วงหกเดือนแรกของ ค.ศ. 2005 เนื่องจากทาง WHO เห็นว่าระบบอภิบาลยามีความเสี่ยงสูงต่อ
                           การทุจริตและการละเมิดจริยธรรม เนื่องจากยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงในระบบตลาด มีผู้มีส่วน

                           ได้ส่วนเสียเข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนมากและมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ดังนั้น อิทธิพลของการทุจริต
                           ภายในระบบอภิบาลยาจึงสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดและหลายรูปแบบซึ่งไม่อาจมองข้ามไปได้
                           ผลร้ายของการทุจริตภายในระบบยาได้ส่งอิทธิพลในสามด้าน ได้แก่

                                            1. ผลกระทบต่อสาธารณสุข คือ การใช้ทรัพยากรของสาธารณะโดยการจัดซื้อ

                                               ยาที่มีราคาแพงหรือไม่ได้คุณภาพซึ่งลดศักยภาพของรัฐบาลในการเข้าถึงยาดี
                                               ที่มีคุณภาพ

                                            2. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ คือ การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐในการจัดซื้อ

                                               ยาที่มีราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น แทนที่จะจัดซื้อยาที่มีคุณภาพเหมือนกัน
                                               ในราคาที่ต่ำกว่า



                                29  อาทิเช่นการประเมินในประเทศโบลิเวีย กัมพูชา อินโดนีเซีย มองโกเลีย และปาปัวนิวกินีของ WHO. (2008).
                           Measuring Transparency to improve good governance in the public pharmaceutical sector: A comparative analysis
                           of five country assessment studies. การประเมินในประเทศเลบานอนของ WHO. (2008). Measuring Transparency
                           to improve good governance in the public pharmaceutical sector in Lebanon. การประเมินในประเทศมาลาวีของ
                           WHO. (2008). Measuring Transparency to improve good governance in the public pharmaceutical sector in
                           Malawi. การประเมินในประเทศซีเรีย ของ WHO. (2008). Measuring Transparency to improve good governance in
                           the public pharmaceutical sector in Syrian Arab Republic, และการประเมินในประเทศเบนิน WHO. (2008). Mesure
                           de la transparence pouraméliorer labonne gouvernancedans le secteurpharmaceutique public au Bénin,



                                                                                                             บทที่ 2
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90