Page 144 - kpi12626
P. 144

8.1 ภาพรวมของหนังสือและอภิปรายผล
                                   การศึกษา


                                   เป็นที่ทราบกันดีว่าการดำเนินงานขององค์กรปกครอง
                              ส่วนท้องถิ่นต้องใช้ทรัพยากรทางการเงินด้วยกันทั้งสิ้น หาก
                              ท้องถิ่นใดมีทรัพยากรที่เพียงพอย่อมช่วยเพิ่มขีดความสามารถ

                              ในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่าง
                              ยั่งยืน คำถามสำคัญในเรื่องนี้ก็คือจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อใด
                              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขีดความสามารถทางการเงิน
                              ที่เข้มแข็งหรือเมื่อใดอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ? หากเราไม่มีระบบ
                              กำกับดูแลฐานะทางการเงินของท้องถิ่นที่ดีพอแล้ว ย่อมไม่อาจ
                              ติดตามได้ว่าท้องถิ่นแห่งหนึ่งๆ มีผลการดำเนินงานด้านการ
                              เงินที่สุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางการเงินหรือไม่ เป็นที่น่า

                              เสียดายว่าปัจจุบันยังมิได้มีการพัฒนาระบบตรวจสอบติดตาม
                              ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เราจึงมิอาจ
                              ทราบได้ว่าผลการดำเนินงานของท้องถิ่นไทยก้าวไปได้เต็ม
                              ศักยภาพที่พึงมีมากน้อยเพียงใด? และองค์กรปกครองท้องถิ่น
                              สามารถตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนของประชาชนได้ดี

                              หรือไม่?

                                   ข้อเขียนในหนังสือเล่มนี้จึงเป็นความพยายามในการ
                              พัฒนากรอบวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครอง
                              ส่วนท้องถิ่นของไทย โดยการประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดทางการเงิน
                              (financial ratio) จากชุดของดัชนีชี้วัดทางการเงินของสมาคม
                              ผู้จัดการเมือง (ICMA) และสมาคมนักการคลังท้องถิ่น (GFOA)

                              ของประเทศสหรัฐอเมริกา และจากงานเขียนทางวิชาการ
                              ที่เกี่ยวข้อง กรอบวิเคราะห์มีมิติพิจารณาใน 4 ด้าน ได้แก่ การ
                              วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น (cash solvency)
                              การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางงบประมาณ (budget solvency)
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149