Page 149 - kpi12626
P. 149
13 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการติดตามดูแลนโยบายบริหารการเงินการคลังและ
การจัดบริการสาธารณะขององค์กรตนเอง (3) ให้ข้อมูลเริ่มต้นที่สำคัญที่
สามารถนำไปสู่การสืบเสาะ (exploration) ประเด็นปัญหาหรือข้อจำกัด
ทางการบริหารที่เกิดขึ้นและส่งผลทางลบต่อฐานะทางการเงินและการจัด
บริการของท้องถิ่นในรายละเอียดต่อไปได้ และ (4) สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญ
สำหรับการพัฒนาระบบกำกับดูแลผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลัง
ของท้องถิ่นทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคได้ในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินการคลังจึงเปรียบเสมือนกับ
“ปรอทวัดไข้” ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารและ
ประชาชนผู้สนใจสามารถติดตามอาการเจ็บป่วยทางการบริหาร (administrative
symptom) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายจัด
บริการสาธารณะและ/หรือนโยบายการบริหารการเงินการคลังขององค์กรได้
หากผู้บริหารท้องถิ่นรู้จักที่จะใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลฐานะทางการเงินแล้ว
ย่อมนำไปสู่การเปิดมิติมุมมองใหม่ๆ ในการเพิ่มศักยภาพด้านการบริหาร
การเงินการคลังให้กับองค์กรตนเองได้ ความสำคัญในเรื่องนี้จึงอยู่ที่การ
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (mindset) ในการบริหารงานท้องถิ่นโดยการใช้
เครื่องมือวิเคราะห์การเงินการคลังเพื่อนำไปสู่การตอบคำถามที่สำคัญว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถดูแลทุกข์สุขของประชาชนหรือจัด
บริการสาธารณะเพิ่มขึ้นและให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไรในขณะที่ยังคง
สามารถรักษาฐานะทางการเงินขององค์กรให้มีความเข้มแข็งทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว
เพื่อที่จะตอบคำถามว่า เราจะส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใช้ดัชนีชี้วัดทางการเงินในการติดตามดูแลผลการดำเนินงานต่อไปได้อย่างไร
และจะส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีฐานะและขีดความสามารถทางการเงินการคลัง
และการจัดบริการสาธารณะที่ดีขึ้นได้อย่างไร ผู้เขียนจึงนำเสนอข้อเสนอแนะ
ที่จำเป็นในด้านต่างๆ ทั้งในระดับมหภาคและในระดับองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น โดยที่ข้อเสนอแนะในแต่ละด้านประกอบไปด้วยมาตรการเชิง