Page 148 - kpi12626
P. 148
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 13
ด้วยเหตุนี้ การส่งเสริมและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มุ่งจัดบริการให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่ตามศักยภาพทางการเงินที่มีอยู่
จึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำกันในวงกว้างและดำเนินการกันอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารงานท้องถิ่นยุคใหม่ควรเน้นการทำงานในเชิงรุก หมั่นใช้
ข้อมูลทางการเงินการงบประมาณที่มีอยู่ในการชี้นำแนวนโยบายใน
การบริหารงานท้องถิ่นมากขึ้น การบริหารชุมชนท้องถิ่นที่มัวแต่รอคอย คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
การยื่นมือให้ความช่วยเหลือจากภายนอกหรือรอคอยการสั่งการดังเช่นที่
เคยชินกันมาแต่เดิมย่อมไม่เพียงพอสำหรับการปกครองท้องถิ่นภายใต้
กระแสประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน
อนึ่งพึงระลึกว่าการประเมินฐานะทางการเงินของท้องถิ่นโดยใช้ดัชนี
ชี้วัดทางการเงินนี้อาจมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติบางประการ ประการแรก
ข้อมูลจากรายงานทางการเงินการบัญชีอาจมิได้บ่งบอกถึงข้อเท็จจริงทุกด้าน
ที่เกิดขึ้นในการบริหารงานของท้องถิ่น หากแต่เป็นเพียงแหล่งรวบรวมข้อมูล
ผลลัพธ์การดำเนินงานของท้องถิ่นในขั้นตอนปลายน้ำเมื่อสิ้นสุดรอบระยะ
เวลาหนึ่งๆ เท่านั้น ผู้บริหารท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุและ
แก้ไขปัญหาทางการบริหารและการจัดบริการสาธารณะที่เกิดขึ้นตั้งแต่
กระบวนการต้นน้ำให้ชัดเจน ประการต่อมา ตัวชี้วัดบางประการโดยเฉพาะ
ในด้านการวัดระดับความเพียงพอในการให้บริการยังอาจมีข้อจำกัดที่ไม่
สามารถสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการจัดบริการสาธารณะได้ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้ การประยุกต์ใช้กรอบวิเคราะห์ฐานะทางการเงินเหล่านี้ควรกระทำ
ด้วยความรอบคอบ การตีความและให้ความหมายค่าดัชนีชี้วัดทางการเงิน
ในด้านต่างๆ ควรพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบไปพร้อมกันอย่างเพียงพอ
แต่ถึงแม้ว่ากรอบวิเคราะห์ในครั้งนี้จะมีข้อจำกัด อย่างน้อยผลการ
วิเคราะห์ที่ได้รับก็สะท้อนให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของท้องถิ่นที่มีความ
สำคัญทางการบริหารหลายประการดังนี้ (1) สามารถนำเสนอข้อมูลผลการ
ดำเนินงานด้านการเงินและการจัดบริการของท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ ได้
(2) ช่วยให้ข้อมูลที่สำคัญ (indication) สำหรับผู้บริหารท้องถิ่นและหน่วยงาน