Page 147 - kpi12626
P. 147

13  การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      เมื่อนำเสนอมาถึงจุดนี้ จะเห็นว่าการวิเคราะห์ฐานะการเงินของ
                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 มิติบ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญของการ

                บริหารงานท้องถิ่นก็คือ การสร้างสภาวะสมดุลระหว่างการดำเนิน
                ภารกิจในการให้บริการสาธารณะและการบริหารการเงินการคลังเพื่อ
                ให้เกิดความคล่องตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากองค์กรปกครอง
                ท้องถิ่นมุ่งเน้นเพียงเฉพาะการรักษาสภาพคล่องในระยะสั้นและความยั่งยืน
                ทางการเงินในระยะยาวด้วยการไม่ก่อหนี้ จนนำไปสู่การลดระดับของการให้

                บริการสาธารณะหรือการลงทุนที่จำเป็นลงแล้ว ย่อมมิใช่สภาวะที่พึงประสงค์
                ของการบริหารงานท้องถิ่นในยุคปัจจุบันแต่อย่างใด ฉะนั้น ผู้บริหารควร
                สร้างสภาวะสมดุลให้เกิดขึ้นโดยการบริหารทรัพยากรทางการเงินขององค์กร
                ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนเต็มตาม
                ศักยภาพที่มีอยู่ โดยที่มิได้ก่อให้เกิดภาระผูกพันในระยะยาวที่มากเกินตัว
                ในกรณีเช่นนี้ ประโยชน์ย่อมตกอยู่กับประชาชนที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                สมควรแก่ฐานะและความเจริญของชุมชนท้องถิ่น

                      พึงสังเกตว่าแนวนโยบายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก
                นิยมใช้ในช่วงที่ผ่านมาคือการบริหารงานคลังในเชิงอนุรักษ์นิยม (fiscally
                conservative) ซึ่งเป็นสภาวะที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพ
                ทางการเงินการคลังที่มีอยู่ไปในการจัดบริการสาธารณะเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหา
                เร่งด่วนของประชาชนอย่างเต็มที่มากนัก ในด้านหนึ่ง การที่ท้องถิ่นมีเงิน

                สะสมเก็บไว้ในปริมาณที่สูงเพื่อช่วยรักษาสภาพคล่องในการใช้จ่ายในการ
                ดำเนินงานประจำวันถือเป็นเรื่องที่ดีและช่วยสร้างหลักประกันทางการเงิน
                (financial buffer) ว่าการดำเนินงานและการให้บริการทั่วไปของท้องถิ่นจะไม่
                สะดุดหรือขาดตอนลง แต่ในทางกลับกัน การที่ท้องถิ่นมีเงินเก็บสะสมไว้ใน
                ปริมาณมาก ๆ ก็มีผลเสียทางลบได้เช่นกัน นั่นก็คือประชาชนมีเงินในมือ

                น้อยลงอันเนื่องมาจากการเสียภาษีอากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                แต่ทว่าพวกเขามิได้รับประโยชน์กลับคืนอันใด (opportunity loss) จาก
                ทรัพยากรทางการเงินที่ท้องถิ่นถือครองเก็บไว้
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152