Page 152 - kpi12626
P. 152
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1 1
กรอบวิเคราะห์ที่งานเขียนนี้ได้นำเสนอไว้ หรืออาจใช้กรอบวิเคราะห์อื่น ๆ ที่
จะพัฒนาขึ้นในภายหลังได้เช่นกัน
เจ้าภาพหลักในเรื่องนี้ควรเป็นกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นและ/หรือคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (กกถ.) ในการประสานงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
และใช้ประโยชน์ข้อมูลการเงินและการบัญชีท้องถิ่นเพื่อช่วยกระตุ้นและ
สนับสนุนให้ท้องถิ่นบริหารงานและจัดบริการให้แก่ประชาชนเต็มตาม
ศักยภาพทางการเงินการคลังที่มีอยู่ ปัจจุบัน กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นได้พัฒนาระบบข้อมูลการเงินการบัญชีอิเล็กทรอนิคส์ของท้องถิ่น
(LAAS) โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งต่างๆ จะบันทึกข้อมูลการเงิน
การบัญชี ข้อมูลพื้นฐานขององค์กร และข้อมูลงบประมาณและการเบิกจ่าย
ส่งให้แก่กรมฯ เป็นประจำอยู่แล้ว การดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลฐานะ
ทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นเพียงแค่การปรับแต่ง
ลักษณะการรายงานข้อมูล (format) จากฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้สามารถ
ประมวลและแสดงผลฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้
ทั่วประเทศโดยที่ไม่น่าจะก่อให้เกิดความยากลำบากมากนัก
ขั้นต่อมาเป็นการพัฒนาแนวนโยบายและส่งสัญญาณที่
ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารการเงินการคลังและงบประมาณโดยอิงกับข้อมูล
การเงินการบัญชีของท้องถิ่นที่ได้ประมวลผลขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานั้นการ
ส่งสัญญาณที่ชัดเจนจากส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับ
นโยบายเศรษฐกิจการคลัง การบริหารการเงินและงบประมาณ หรือ
มาตรฐานการบัญชีและการดำเนินงานด้านต่าง ๆ มิได้กระทำอย่างเป็น
ระบบหรือมีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอ ทำให้นโยบายหรือหนังสือสั่งการ
จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลท้องถิ่นในช่วงที่ผ่านมาเกิดขึ้นแบบ
แยกส่วนเฉพาะเรื่องเฉพาะจุด (piecemeal) ล่าช้าไม่ทันการณ์ต่อข้อเท็จจริง
ที่เกิดขึ้น และไม่สะท้อนถึงทิศทางที่ชัดเจนในการบริหารการเงินการคลังของ
ท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและมีความเป็นอิสระแต่ประการใด