Page 150 - kpi12626
P. 150

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    13


                  นโยบายและเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องหลายประการ เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้น
                  และสร้างแรงจูงใจ (incentive) ให้แก่ผู้บริหารท้องถิ่นมุ่งทำงานเพื่อสนองต่อ

                  ความต้องการของประชาชนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทาง
                  การเงินให้แก่องค์กรตนเองอย่างยั่งยืน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

                  8.2 ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง                             คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                        ทางการเงินของท้องถิ่นในระดับมหภาค


                        เนื่องจากการปกครองท้องถิ่นเป็นภารกิจประการหนึ่งที่รัฐพึงให้การ
                  ส่งเสริมและสนับสนุนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช 2550 เราจึงควรมีหลักประกันอย่างเพียงพอว่าองค์กรปกครอง
                  ท้องถิ่นสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่สมฐานะทางการเงินการคลังขององค์กร

                  และมีความยั่งยืน ในเรื่องนี้ การพัฒนาระบบประเมินผลฐานะทางการเงิน
                  ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับมหภาคจึงมีความจำเป็น เพื่อให้มีระบบ
                  การรายงานข้อมูลเป็นการล่วงหน้าที่มีประสิทธิผล (early financial warning
                  system) สามารถให้ข้อมูลสำหรับใช้ในการติดตามผลที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
                  การให้บริการสาธารณะ และการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นได้อย่าง

                  เพียงพอ และสามารถนำไปสู่การกำหนดทิศทางหรือการส่งสัญญาณใน
                  ระดับมหภาค (signaling) ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดทำนโยบายงบประมาณ
                  และการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมในเวลาอันควร

                        ดังนั้น ในภาพรวมจึงควรมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการ หลักเกณฑ์
                  การปฏิบัติ และระบบงานสนับสนุนต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการสร้างความ
                  เข้มแข็งให้กับท้องถิ่นในการบริหารการเงินการคลังและการงบประมาณอย่าง

                  ต่อเนื่อง อันประกอบไปด้วย (1) การพัฒนาระบบกำกับดูแลการบริหาร
                  การเงินท้องถิ่น (2) การส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนากรอบการก่อหนี้
                  (3) การพัฒนามาตรฐานการเงินการบัญชีและการบริหารสินทรัพย์ให้มีความ
                  เป็นสากล (4) การส่งเสริมการตรวจสอบด้านการบริหารจัดการการเงิน
                  การคลังท้องถิ่น และ (5) การปรับบทบาทของราชการส่วนกลางและ
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155